สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ ปัจจุบัน ประชากรในประเทศก� ำลังพัฒนากว่า ๒๐,๐๐๐ ล้านคน นอกจากจะไม่มีส้วม ที่ถูกสุขลักษณะใช้ในการขับถ่ายแล้ว ยังคงใช้งานระบบบ� ำบัดของเสียจากการขับถ่ายที่ไม่ถูกหลัก สุขาภิบาล เนื่องจากส่วนใหญ่ยังคงใช้บ่อเกรอะ ( septic tank ) ที่ไม่ได้ป้องกันการกันซึมหรือใช้ถังซึม ( cesspool ) ซึ่งมีประสิทธิภาพต�่ ำในการบ� ำบัดมลสารและไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในของ เสียดังกล่าวได้ ของเสียที่ถูกกักอยู่ในระบบเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า “สิ่งปฏิกูล” จะไหลต่อไปในแหล่ง น�้ ำใกล้เคียง ท� ำให้เกิดการปนเปื้อนในแม่น�้ ำล� ำคลองและน�้ ำใต้ดิน เพราะในสิ่งปฏิกูลจะมีเชื้อโรคอยู่ หลากหลายประเภท ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส โพรโทซัว และไข่พยาธิ เชื้อโรคเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุ ส� ำคัญของปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน จากสถิติด้านสาธารณสุขระบุว่า โรคท้องร่วงที่เกิดขึ้น ทั่วโลกเกือบร้อยละ ๙๐ มีสาเหตุมาจากปัญหาส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ น�้ ำอุปโภคบริโภคที่ไม่สะอาด ประชากรในประเทศก� ำลังพัฒนาเสียชีวิตจากเชื้อโรคที่มาจากสิ่งปฏิกูลประมาณ ๑๗ ล้านคนต่อปี ประกอบกับประชากรในประเทศก� ำลังพัฒนายังคงเพิ่มจ� ำนวนมากขึ้น ปัญหาสุขภาพและมลพิษสิ่ง แวดล้อมที่เกิดจากการไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะและระบบการบ� ำบัดที่มีประสิทธิภาพต�่ ำ รวมถึงการ รวบรวมสิ่งปฏิกูลซึ่งมีความเข้มข้นของมลสารสูงและมีเชื้อโรคสะสมในปริมาณมาก ๆ และไม่มีระบบ บ� ำบัดที่เหมาะสม ก็จะท� ำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับปัญหาภัยพิบัติอื่น ๆ ที่มนุษย์ *ปรับปรุงจากการบรรยายในการประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ส้วมยุคใหม่และประเด็นด้านเทคโนโลยี สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม* จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาทิตยา ภานุวัฒน์วนิชย์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ณวัชร สุรินทร์กุล สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=