สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

77 ปริ ญญา จิ นดาประเสริ ฐ, ยุวดี แซ่ตั้ ง วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ นอกจากนี้ จากการศึกษาที่ผ่านมาของ Chen และคณะ (Chen et al., 2012: 3329-3334) และ Sata และคณะ (Sata et al., 2013: 33-39) พบว่า การแตกหักในคอนกรีตพรุนอาจเกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ กรณีแรกคือเพสต์มีความแข็งแรงใกล้เคียงกับมวลรวม ดังนั้น จะเกิดการแตกโดยที่แนวแตกจะผ่าเนื้อ มวลรวม และกรณีที่ ๒ เมื่อเพสต์มีความแข็งแรงน้อยกว่ามวลรวม แนวการแตกจะเกิดขึ้นระหว่างรอยต่อ ระหว่างมวลรวมกับเพสต์ ๖.๓ การสึกกร่อนของผิวหน้า ค่าน�้ ำหนักสูญเสียจากการขัดถูที่ผิวหน้าของคอนกรีตพรุนมีแนวโน้มแปรผันโดยตรง กับก� ำลังรับแรงอัด จึงสามารถใช้บ่งบอกถึงความแข็งแรงของคอนกรีตพรุนได้ ค่าน�้ ำหนักสูญเสียจากการ ขัดถูที่ผิวหน้าของคอนกรีตพรุนที่ท� ำจากคอนกรีตรีไซเคิลเป็นมวลรวมหยาบ (aggregate from recycled concrete, RAC) มีค่าต�่ ำกว่าน�้ ำหนักสูญเสียของคอนกรีตพรุนที่ท� ำจากมวลรวมหยาบของคอนกรีตบล็อกที่ น� ำกลับมาใช้ (aggregate from recycled concrete block, RAB) ดังแสดงในรูปที่ ๑๓ นอกจากนี้ ลักษณะ การแตกหักจากการขัดถูยังสามารถบอกถึงความแตกต่างของความแข็งแรงระหว่างเพสต์กับมวลรวมได้ อีกด้วย คอนกรีตพรุนที่ใช้หินปูนเป็นมวลรวมหยาบ ( RAC ปริมาณการแทนที่ร้อยละ ๐) มีแนวโน้มที่จะ ให้ค่าน�้ ำหนักที่สูญเสียจากการขัดถูที่ผิวหน้าสูงกว่าคอนกรีตพรุนที่ใช้คอนกรีตรีไซเคิลเป็นมวลรวมหยาบ (RAC) (ยุวดี แซ่ตั้ง, ๒๕๕๗ ) ทั้งนี้เนื่องจากหินปูนมีความแข็งแรงกว่าเพสต์มาก จึงเกิดรอยแตกตามแนว เพสต์ ท� ำให้หินปูนหลุดล่อนเป็นเม็ด ขณะที่คอนกรีตรีไซเคิลมีความแข็งแรงน้อยกว่าหินปูนและน้อยกว่า เพสต์ จึงเกิดการแตกของหินเป็นชิ้นเล็ก ๆ นอกจากนี้ การใช้วัสดุผสมเพิ่มประเภทพอซโซลานในส่วน ผสมของเพสต์สามารถเพิ่มความต้านทานการสึกกร่อนที่ผิวหน้าได้ (ยุวดี แซ่ตั้ง, ๒๕๕๗)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=