สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เทคโนโลยี คอนกรี ตพรุน 74 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ๖.๑ การซึมผ่านน�้ ำ ACI 522R-10 (ACI 522R-10, 2010) แนะน� ำว่า คอนกรีตพรุนที่แข็งแรงควรมีค่า การซึมผ่านน�้ ำ (drainage rate) อยู่ระหว่าง ๐.๑๔-๑.๒๒ เซนติเมตรต่อวินาที การซึมผ่านน�้ ำของคอนกรีต พรุนมีความสัมพันธ์กับปริมาณโพรงช่องว่าง คอนกรีตพรุนที่มีปริมาณโพรงมากจะให้ค่าการซึมผ่านน�้ ำที่ มาก อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยของ Sumanasooriya และ Neithalath (Sumanasooriya and Neithal- ath, 2011: 778-787) พบว่าค่าการซึมผ่านน�้ ำไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณโพรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ ขนาดและความต่อเนื่องของโพรง ปริมาณเพสต์ที่มากขึ้นมีผลให้ความต่อเนื่องของโพรงลดลง (Zaetang et al., 2013: 585-591) การใช้มวลรวมขนาดเล็กลงมีผลให้ความต่อเนื่องของโพรงลดลงเช่นกัน นอกจาก นี้ งานวิจัยของ Huang และคณะ (Huang et al., 2010: 818-823) แสดงว่าการเติมสารพอลิเมอร์ เช่น Styrene-butadiene latex ส่งผลต่อการลดลงของความต่อเนื่องของโพรง นอกจากนี้ Neithalath และคณะ (Neithalath et al., 2010: 802-813) ได้ศึกษาพฤติกรรมของปริมาณโพรง ขนาดโพรง ความต่อเนื่องของ โพรงส� ำหรับคอนกรีตพรุนเพื่อท� ำนายค่าการซึมผ่านน�้ ำจากงานวิจัยในอดีต (Low et al., 2008), (Montes and Haselbach, 2006: 960-969), (Neithalath, 2004), (ACI 522R-06, 2006), (Wang et al., 2006) โดย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการซึมผ่านน�้ ำกับปริมาณโพรงเป็นสมการแบบเลขชี้ก� ำลัง (exponential) ดังแสดงในรูปที่ ๑๑ (Sata et al., 2013: 33-39) ๖.๒ ก� ำลังของคอนกรีตพรุน คอนกรีตพรุนมีก� ำลังรับแรงอัดที่ต�่ ำกว่าคอนกรีตทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณโพรงที่ มีอยู่มาก จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างก� ำลังรับแรงอัดกับปริมาณโพรงช่องว่างของ คอนกรีตพรุนสามารถอธิบายได้ด้วยสมการเลขชี้ก� ำลัง (Lian et al., 2011: 4294-4298), (Kendall et al., 1983: 139-153), (Tho-in et al., 2012: 360-371) โดยที่คอนกรีตพรุนทั่วไปที่ประกอบด้วยมวลรวมหยาบ ที่แข็งแรงกว่าเพสต์นั้น เพสต์จะเคลือบและหุ้มมวลรวมหยาบไว้เสมือนเป็นหนึ่งเดียวกับมวลรวม เมื่อรับ น�้ ำหนัก โพรงช่องว่างในเนื้อคอนกรีตพรุนจะเป็นจุดอ่อนหรือจุดที่ท� ำให้เกิดความเค้นสูงและท� ำให้เกิดรอย แตก และรอยแตกนี้จะขยายตัวผ่านเนื้อเพสต์ (Chindaprasirt et al., 2008: 894-901) พฤติกรรมนี้คล้าย กับพฤติกรรมของวัสดุพรุนที่อธิบายโดย Ryshkewitch (Ryshkewitch, 1953: 65-68) ว่า ก� ำลังรับแรงอัด ของวัสดุพรุนขึ้นอยู่กับก� ำลังรับแรงอัดของวัสดุและความพรุน โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างก� ำลังรับแรงอัด กับปริมาณโพรงสามารถแสดงดังสมการที่ ๘ รูปที่ ๑๒ แสดงก� ำลังรับแรงอัดกับปริมาณโพรงของคอนกรีต พรุนที่ท� ำจากเพสต์ก� ำลังสูง (Chindaprasirt et al., 2008: 894-901) (๘) σ = σ 0 e −bV

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=