สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

73 ปริ ญญา จิ นดาประเสริ ฐ, ยุวดี แซ่ตั้ ง วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ๕.๓ การทดสอบค่าน� ำความร้อน สภาพน� ำความร้อน (thermal conductivity) หรือสัมประสิทธิ์การน� ำความร้อน คือ ค่าที่บ่งบอกถึงอัตราเร็วของการส่งผ่านพลังงานความร้อนภายในโมเลกุลของวัสดุ จากโมเลกุลที่มีระดับ พลังงานสูงกว่าไปยังระดับที่ต�่ ำกว่า วัสดุก่อสร้างที่มีค่าสัมประสิทธิ์การน� ำความร้อนต�่ ำจะมีสมบัติเป็นฉนวน ที่ดี คอนกรีตพรุนซึ่งมีโพรงช่องว่างอยู่มากจะมีสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าคอนกรีตทั่วไป วิธีการทดสอบการน� ำความร้อนของวัสดุนั้นมีหลายวิธี วิธีการทดสอบหาค่าการน� ำความร้อนโดยวัดด้วย หัววัดแบบวางที่ผิวของวัสดุ (surface probe) แสดงไว้ในรูปที่ ๑๐ วิธีนี้สามารถใช้ทดสอบค่าการน� ำความ ร้อนของคอนกรีตพรุนง่ายกว่าวิธีอื่น เครื่องมือได้ผ่านการสอบเทียบกับการทดสอบหาค่าการน� ำความร้อน มาตรฐาน ASTMC5334 (ASTMD5334, 2014) ตัวอย่างที่ทดสอบควรมีขนาดหน้าตัดกว้างอย่างน้อย ๖ เซนติเมตร หนาอย่างน้อย ๒ เซนติเมตร และควรถูกอบแห้งที่อุณหภูมิ ๑๑๐±๕ องศาเซลเซียสเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง เพื่อไล่ความชื้นออกจากตัวอย่าง ทั้งนี้เนื่องจากความชื้นของตัวอย่างมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ค่าน� ำความร้อนอย่างมาก ควรทดสอบด้านที่ผิวหน้าเรียบเพื่อให้หัวสัมผัสผิวตัวอย่างได้ดี โดยวางหัววัดไว้ ที่ผิวตัวอย่าง จากนั้นหัววัดจะวัดค่าการน� ำความร้อนโดยการส่งและรับความร้อนด้วยหัววัดด้านเดียว รูปที่ ๑๐ การทดสอบการน� ำความร้อนของตัวอย่าง คอนกรีตพรุน (ยุวดี แซ่ตั้ง, ๒๕๕๗) ๖. สมบัติของคอนกรีตพรุน เนื่องจากคอนกรีตพรุนมีปริมาณโพรงช่องว่างที่มากกว่าคอนกรีตทั่วไปมาก ดังนั้น สมบัติของ คอนกรีตพรุนจึงมักสัมพันธ์กับปริมาณโพรงอย่างเด่นชัด ในส่วนนี้จะกล่าวถึงสมบัติทางกลและทางกายภาพ ที่ส� ำคัญของคอนกรีตพรุน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=