สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เทคโนโลยี คอนกรี ตพรุน 68 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ๕. การทดสอบสมบัติ การทดสอบสมบัติด้านก� ำลังของคอนกรีตพรุน (ก� ำลังรับแรงอัด ก� ำลังรับแรงดัด และก� ำลังรับ แรงดึงแยกแบ่งซีก) สามารถใช้มาตรฐานของสมาคมการทดสอบและวัสดุอเมริกัน (American Society of Testing and Materials, ASTM) เหมือนการทดสอบก� ำลังของคอนกรีตทั่วไป ขณะที่การทดสอบทางด้าน กายภาพของคอนกรีตพรุนนั้นเริ่มมีมาตรฐานมากขึ้น คือ ใน ค.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๒ สมาคมการทดสอบและ วัสดุอเมริกันได้ออกมาตรฐานส� ำหรับทดสอบสมบัติของคอนกรีตพรุน ASTM C1701 (ASTM C1701 / C1701M, 2009) คือ มาตรฐานที่ใช้ทดสอบการหาค่าการซึมผ่านน�้ ำของคอนกรีตพรุนในสนาม, ASTM C1688 (ASTM C1688 / C1688M, 2013) คือ มาตรฐานในการทดสอบหาค่าความหนาแน่นและปริมาณ โพรงอากาศของคอนกรีตพรุนสด, ASTM C1747 (ASTM C1747 / C1747M, 2011) คือ มาตรฐานที่ใช้ ทดสอบหาค่าความทนทานต่อแรงกระแทกของคอนกรีตพรุน และ ASTM C1754 (ASTMC1754, 2012) คือ มาตรฐานที่ใช้ทดสอบหาค่าความหนาแน่นและปริมาณโพรงของคอนกรีตพรุนที่แข็งตัวแล้ว ส� ำหรับ การทดสอบการซึมผ่านน�้ ำของตัวอย่างคอนกรีตพรุนในห้องปฏิบัติการนั้น ได้มีงานวิจัยที่ท� ำการศึกษาและ พัฒนาเครื่องมือขึ้นมาเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน�้ ำของคอนกรีตพรุน นอกจากนี้ คอนกรีตพรุน มักถูกใช้งานด้านถนน จึงควรท� ำการทดสอบการสึกกร่อนของผิวหน้าตามมาตรฐาน ASTMC944 (ASTM C944 / C944M, 2012) ซึ่งเป็นมาตรฐานการทดสอบค่าต้านทานการสึกกร่อนของผิวหน้าโดยวิธี Rotating Cutter ๕.๑ การทดสอบหาปริมาณโพรง ได้กล่าวมาแล้วว่า ปริมาณโพรงอากาศที่อยู่ในคอนกรีตมีทั้งโพรงแบบต่อเนื่องและแบบ ไม่ต่อเนื่อง ดังแสดงในภาพจ� ำลองรูปที่ ๖ ตามทฤษฎีแล้วเมื่อคอนกรีตพรุนอยู่ในสภาพ SSD โพรงแบบไม่ ต่อเนื่องด้านในของคอนกรีตจะมีน�้ ำอยู่เต็มขณะที่โพรงแบบต่อเนื่องจะไม่มีน�้ ำอยู่ ในการปฏิบัติจริงยังไม่มี มาตรฐานในการก� ำหนดการเตรียมตัวอย่างคอนกรีตพรุนในสภาพ SSD และเมื่อคอนกรีตอยู่ในสภาพแช่ ในน�้ ำ โพรงช่องว่างทั้งหมดจะถูกเติมด้วยน�้ ำ (ดังแสดงในรูปที่ ๗) ในการเตรียมตัวอย่างในสภาพนี้คอนกรีต ต้องถูกแช่น�้ ำเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้น�้ ำสามารถซึมเข้าสู่โพรงที่ไม่ต่อเนื่องได้ เมื่อชั่งน�้ ำหนักในน�้ ำแล้ว น�้ ำ หนักของตัวอย่างจะคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=