สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เทคโนโลยี คอนกรี ตพรุน 66 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ACI 522R-10 (ACI 522R-10, 2010) แนะน� ำว่า อัตราส่วนน�้ ำต่อปูนซีเมนต์ที่ใช้ควรอยู่ระหว่าง ๐.๒๖-๐.๔๐ อย่างไรก็ตาม การใส่สารลดน�้ ำจะสามารถช่วยลดอัตราส่วนน�้ ำต่อปูนซีเมนต์ลงได้ Chindapra- sirt และคณะ (Chindaprasirt et al., 2008: 894-901) พบว่าสามารถลด w/cm ให้อยู่ระหว่าง ๐.๒๐-๐.๒๕ ได้โดยใช้สารลดน�้ ำพิเศษ ๔. การผสมและอัดแน่นคอนกรีตพรุน ลักษณะของคอนกรีตพรุนที่ดีนั้น เพสต์ควรเคลือบผิวมวลรวมดี คอนกรีตพรุนสดควรมีความ สามารถในการอัดแน่นเข้าแบบดีเพื่อให้ได้ขนาดโพรงที่ต้องการ และเมื่อแข็งตัวแล้วต้องมีการกระจายตัว ของโพรงช่องว่างอย่างสม�่ ำเสมอ ขั้นตอนการผสมคอนกรีตพรุนในห้องปฏิบัติการเริ่มจากการผสมส่วนผสม ของเพสต์ก่อน เมื่อผสมได้เพสต์ที่มีค่าการไหลที่เหมาะสม ก็จะผสมมวลรวมหยาบที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวผิว แห้ง (saturated surface dry, SSD) ลงไป ทั้งนี้มวลรวมในสภาพ SSD จะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณน�้ ำ และสภาพการไหลของเพสต์ คอนกรีตพรุนที่ได้จะมีความหนืดลักษณะคล้ายคอนกรีตไม่ยุบตัว (no-slump concrete) การวัดความสามารถในการท� ำงานได้ของคอนกรีตพรุนนั้นยังไม่มีมาตรฐานรองรับโดยตรง Yang และ Jiang (Yang and Jiang, 2003: 381-386) ได้น� ำการทดสอบวีบี (VB จาก V. Bahrner) มาใช้ ซึ่ง เป็นวิธีการทดสอบความสามารถในการท� ำงานได้ของคอนกรีตที่มีความหนืดหรือมีความสามารถเทได้ต�่ ำ การอัดแน่นคอนกรีตพรุนด้วยแท่งเหล็กกระทุ้งท� ำได้ยากกว่าคอนกรีตทั่วไป การแบ่งชั้นกระทุ้ง ให้มากขึ้นจะช่วยให้เนื้อคอนกรีตมีความสม�่ ำเสมอ นอกจากนี้ การเขย่าด้วยโต๊ะเขย่าจะช่วยให้เนื้อคอนกรีต อัดตัวได้ดียิ่งขึ้นและเนื้อเพสต์เคลือบผิวมวลรวมได้ดีขึ้น ทั้งนี้ความเหมาะสมของวิธีการอัดแน่นยังคงขึ้น อยู่กับค่าการไหลและปริมาณของเพสต์เป็นหลัก จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ค่าการไหลของเพสต์มีผล ต่อปริมาณโพรงและการไหลลงอุดตันด้านล่างของตัวอย่างคอนกรีตพรุน (Chindaprasirt et al., 2008: 894-901), (Kim and Lee, 2010: 607-615) รูปที่ ๔ แสดงสถานะของด้านล่างตัวอย่างคอนกรีตพรุนที่ใช้ เพสต์ที่มีค่าการไหลและปริมาณโพรงช่องว่างต่างกัน การอัดแน่นคอนกรีตพรุนสามารถใช้เครื่องเขย่าที่บนผิวหน้าของคอนกรีต รูปที่ ๕ แสดงตัวอย่าง คอนกรีตพรุนที่อัดแน่นโดยการใช้เครื่องเขย่าบนผิวหน้า (Chindaprasirt et al., 2008: 894-901) การอัด แน่นจะไม่สม�่ ำเสมอตลอดความหนา บริเวณผิวด้านบนใกล้เครื่องเขย่าจะมีการอัดแน่นดีกว่าผิวด้านล่าง วิธีการบดอัดนี้นิยมใช้กันในการบดอัดพื้นคอนกรีตพรุนในสนาม นอกจากนี้ การเตรียมคอนกรีตพรุนที่ท� ำ ในห้องปฏิบัติการยังมีสมบัติที่แตกต่างจากคอนกรีตพรุนที่ใช้งานจริง จากการศึกษาของ Mahboub และ คณะ (Mahboub et al., 2009: 523-528) พบว่า การอัดแน่นตัวอย่างตาม ASTM C192 (ASTM C192 / C192M, 2013) โดยใช้เหล็กกระทุ้งจะให้คอนกรีตที่มีสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างจากวิธีใช้แรงดันอัด และวิธีที่ใช้ก่อสร้างจริงในสนาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=