สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

65 ปริ ญญา จิ นดาประเสริ ฐ, ยุวดี แซ่ตั้ ง วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของมวลรวม โดยที่มวลรวมขนาดเล็กหรือมีผิวหยาบจะมีพื้นที่ผิวมากกว่า มวลรวมขนาดใหญ่หรือผิวเรียบ ดังนั้น จึงต้องการปริมาณเพสต์ในการเคลือบผิวมากกว่า และปริมาณเพสต์ ยังขึ้นอยู่กับพลังงานที่ใช้ในการอัดแน่น หากพลังงานในการอัดแน่นสูง ปริมาณเพสต์ที่ใช้ไม่ควรมาก ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการไหลลงด้านล่างของเพสต์ รูปที่ ๓ ปริมาตรของมวลรวมหยาบ น�้ ำ และโพรงช่องว่างของคอนกรีตพรุน มวลรวมหยาบ คอนกรีตพรุน เนื่องจากไม่มีมาตรฐานที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของขนาดหิน ปริมาณเพสต์ และ พลังงานในการอัดแน่น ดังนั้น การออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตพรุนเบื้องต้นจึงต้องท� ำการทดลองหา ปริมาณหินและปริมาณเพสต์ที่เหมาะสมกับระดับพลังงานที่ใช้ในการอัดแน่น ส� ำหรับปริมาณปูนซีเมนต์ (c) นั้น เมื่อก� ำหนดปริมาตรของซีเมนต์เพสต์ (V P ) ในคอนกรีตพรุน ๑ ลูกบาศก์เมตร และอัตราส่วนน�้ ำ ต่อปูนซีเมนต์ (w/cm) แล้ว สามารถค� ำนวณหาปริมาณได้พร้อมทั้งปริมาณน�้ ำ (w) ตามสมการที่ ๑ และ ๒ คือ V P = c/(3.15 × 1000 kg/m 3 ) + w/1000 kg/m 3 (๑) w = (w/cm) c (๒) และสามารถค� ำนวณหาปริมาณปูนซีเมนต์ได้จากสมการที่ ๓ คือ c = [(V P /0.315 + w/cm)] x 1000 kg/m 3 ( ๓ )

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=