สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เทคโนโลยี คอนกรี ตพรุน 64 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ๒.๓ โพรงช่องว่าง ส� ำหรับโพรงและช่องว่างในคอนกรีตพรุน หากพิจารณาต� ำแหน่งที่โพรงเกิดอาจแบ่งได้ ๓ ประเภท ได้แก่ โพรงในเนื้อเพสต์ โพรงในเนื้อมวลรวม และโพรงช่องว่าง (voids) โดยที่โพรงในเนื้อเพสต์ เป็นโพรงขนาดเล็ก ประกอบด้วยโพรงของเจล (gel pores) และโพรงแคพิลลารี (capillary pores) ซึ่งมีผล ต่อก� ำลังของเพสต์ ปริมาณโพรงในเนื้อเพสต์นี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของเพสต์ (ปริญญา จินดาประเสริฐ และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, ๒๕๕๒) โพรงในเนื้อมวลรวมคือโพรงที่มีอยู่แล้วในมวลรวม ปริมาณและขนาดโพรงใน เนื้อมวลรวมขึ้นอยู่กับชนิดของมวลรวมที่น� ำมาใช้ โพรงทั้ง ๒ ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นมักมีขนาดเล็กและเป็น องค์ประกอบอย่างหนึ่งของคอนกรีตพรุน โพรงที่มีความส� ำคัญต่อคอนกรีตพรุนเป็นโพรงประเภทที่ ๓ คือ โพรงช่องว่างที่ตั้งใจให้เกิดขึ้นจากการใช้ส่วนผสมที่มีเพสต์เพียงพอแก่การเคลือบหุ้มมวลรวมหยาบ แต่ไม่ เหลือส� ำหรับอุดช่องว่าง เป็นโพรงช่องว่างหลักที่น�้ ำและอากาศสามารถผ่านได้โดยง่าย นอกจากนี้ เราอาจ จ� ำแนกโพรงช่องว่างในคอนกรีตพรุนตามลักษณะความต่อเนื่องของโพรงได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่ โพรง แบบช่องว่างต่อเนื่อง (continuous voids) ซึ่งเป็นโพรงช่องว่างที่เชื่อมโยงกันและน�้ ำสามารถไหลผ่านได้ และโพรงช่องว่างแบบไม่ต่อเนื่อง (uncontinuous voids) ซึ่งเป็นโพรงปิดซึ่งน�้ ำไม่สามารถไหลผ่านได้ โพรง ทั้ง ๒ ประเภทส่งผลต่อก� ำลังของคอนกรีตพรุน ส่วนผสมคอนกรีตพรุนที่มีปริมาณเพสต์มากหรือที่ใช้มวล รวมหยาบที่มีขนาดเล็กลงจะมีผลท� ำให้ความต่อเนื่องของโพรงลดลง (Sumanasooriya and Neithalath, 2011: 778-787) ACI 522R-10 (ACI 522R-10, 2010) ผู้นิพนธ์แนะน� ำว่าในการท� ำคอนกรีตพรุนที่น�้ ำ สามารถไหลผ่านได้ดี โพรงช่องว่างควรมีขนาด ๒-๘ มิลลิเมตร และปริมาณร้อยละ ๑๕-๓๕ โดยปริมาตร ๓. การออกแบบส่วนผสม การออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตพรุนยังคงไม่มีมาตรฐานที่ยอมรับและใช้งานทั่วไปอย่าง คอนกรีตธรรมดา ACI 522R-10 (ACI 522R-10, 2010) แนะน� ำการออกแบบคอนกรีตพรุนไว้ว่า คอนกรีต พรุนที่มีปริมาตร ๑ ลูกบาศก์เมตร ประกอบด้วยมวลรวมหยาบที่อยู่ชิดกันในสภาพที่หลวมกว่าสภาพอัด แน่นเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณเนื้อเพสต์เข้าไปเคลือบผิวมวลรวมและแทรกตัวอยู่ในช่องว่าง รูปที่ ๓ เปรียบเทียบปริมาตรของมวลรวมหยาบ เพสต์ และโพรงช่องว่างในคอนกรีตพรุนกับปริมาตรของมวล รวมหยาบอัดแน่นและโพรงช่องว่าง ทั้งนี้สภาพการอยู่ชิดกันของมวลรวมในคอนกรีตนั้นขึ้นอยู่กับสมบัติ ของเพสต์ ปริมาณเพสต์ และพลังงานที่ใช้ในการอัดแน่น เพสต์ที่มีค่าการไหลสูงจะเคลือบผิวมวลรวมได้ บางกว่า ท� ำให้มวลรวมอยู่ชิดกันมากกว่า แต่จะไม่สามารถใช้ในปริมาณมากได้เนื่องจากจะเกิดการไหลของ เพสต์ไปอุดตันด้านล่าง ขณะที่เพสต์ที่มีค่าการไหลต�่ ำจะเคลือบผิวมวลรวมได้หนากว่า ส่งผลให้มวลรวมอยู่ ห่างกันมากขึ้น ปริมาณเพสต์ที่มากขึ้นจะส่งผลให้มวลรวมอยู่ห่างกันมากขึ้น และพลังงานในการอัดแน่นที่ สูงขึ้นจะท� ำให้มวลรวมอยู่ชิดกันมากขึ้น โดยทั่วไปปริมาณเพสต์ที่เหมาะสมมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ ๑๕-๒๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=