สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เทคโนโลยี คอนกรี ตพรุน 62 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ๒.๑ มวลรวมหยาบ มวลรวมหยาบที่ใช้ท� ำคอนกรีตพรุนมักมีขนาดคละเดียว (single grade) เพื่อให้เกิด โพรงช่องว่างในเนื้อคอนกรีต วัสดุที่ใช้อาจเป็น หินปูน กรวด หรือมวลรวมรีไซเคิล ในเนื้อคอนกรีตพรุน จะมีมวลรวมหยาบประมาณร้อยละ ๖๐-๗๐ โดยปริมาตร ACI 522R-10 (ACI 522R-10, 2010) ผู้นิพนธ์แนะน� ำว่ามวลรวมหยาบที่ใช้ในการท� ำคอนกรีตพรุนควรมีลักษณะตาม ASTMC33 (ASTMC33 / C33M, 2013) และ ASTM D448 (ASTM D448, 2012) จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ขนาดของมวลรวม มีผลต่อก� ำลังของคอนกรีตพรุน การใช้มวลรวมที่มีขนาดเล็กลงจะท� ำให้ก� ำลังคอนกรีตพรุนสูงขึ้น (ธวัชชัย โทอินทร์, ๒๕๕๕), (Yang and Jiang, 2003: 381-385), (Bhutta et al., 2012: 67-73) ทั้งนี้เนื่องจาก มวลรวมขนาดเล็กสามารถเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างมวลรวมกับซีเมนต์เพสต์ได้ อย่างไรก็ตาม มวลรวม ขนาดเล็กนั้นต้องการปริมาณเพสต์เพื่อหุ้มมวลรวมมากกว่ามวลรวมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ความแข็งแรง ของมวลรวมหยาบจะส่งผลต่อก� ำลังของคอนกรีตพรุน คือ คอนกรีตพรุนที่ใช้มวลรวมที่แข็งแรงกว่าจะให้ ก� ำลังที่สูงกว่า (Sata et al., 2013: 33-39) ได้มีความพยายามในการใช้มวลรวมหยาบจากคอนกรีตรีไซเคิล และพบว่าคอนกรีตพรุนมีก� ำลังที่ใกล้เคียงกับคอนกรีตพรุนที่ใช้หินปูนเป็นมวลรวมหยาบ ทั้งนี้เนื่องจาก สภาพผิวที่หยาบและขรุขระมากกว่าของมวลรวมรีไซเคิลช่วยให้การยึดเกาะระหว่างเพสต์กับมวลรวมดีขึ้น (ยุวดี แซ่ตั้ง, ๒๕๕๗) ข) น�้ ำผ่านได้ ค) วัชพืชขึ้นได้ รูปที่ ๑ ส่วนประกอบและลักษณะของคอนกรีตพรุน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=