สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
61 ปริ ญญา จิ นดาประเสริ ฐ, ยุวดี แซ่ตั้ ง วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ความเบาของวัสดุเป็นหลัก และประเภทที่ ๒ คือคอนกรีตพรุนที่ระบายน�้ ำได้ ( pervious concrete ) ใน สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นคอนกรีตชนิดนี้ถูกน� ำมาใช้เพื่อเป็นผิวทางที่ระบายน�้ ำได้ โดยที่ส� ำนักงานปกป้องสิ่ง แวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency-EPA) (http://www2.epa.gov/aboutepa ) สนับสนุนและยอมรับว่า การใช้ผิวทางที่น�้ ำซึมผ่านได้นี้สามารถช่วยลดปัญหาการจัดการน�้ ำฝนที่ไหลนอง ได้ดี นอกจากนี้สภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ที่ปูด้วยผิวทางที่ระบายน�้ ำได้ยังคงมีสภาพที่เย็นกว่าพื้นที่ที่ปู ด้วยถนนแอสฟัลต์หรือคอนกรีตธรรมดาอีกด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตพรุนจาก งานวิจัยที่ผ่านมาและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคอนกรีตพรุน โดย เนื้อหาจะเกี่ยวกับประวัติ การใช้ประโยชน์ดังที่กล่าวมาข้างต้น และครอบคลุมถึงส่วนประกอบของเนื้อ คอนกรีต การออกแบบส่วนผสม การทดสอบสมบัติพื้นฐาน และสมบัติทั่วไปของคอนกรีตพรุน ๒. ส่วนประกอบของคอนกรีตพรุน คอนกรีตพรุนคือมวลรวมหยาบที่ถูกเชื่อมด้วยวัสดุประสานและส่วนที่เหลือเป็นโพรงช่องว่าง ดัง นั้น คอนกรีตพรุนจึงประกอบด้วยส่วนหลัก ๓ ส่วน ดังนี้ ก) ส่วนประกอบ มวลรวมหยาบ วัสดุประสาน โพรงอากาศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=