สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เทคโนโลยี คอนกรี ตพรุน 60 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ๑. บทน� ำ คอนกรีตพรุน (pervious concrete) เป็นคอนกรีตที่แตกต่างจากคอนกรีตทั่วไป คือ มีปริมาณ โพรง (void content) อยู่ในเนื้อคอนกรีตค่อนข้างมาก คอนกรีตประเภทนี้ท� ำจากมวลรวมหยาบและใช้ เพสต์เป็นตัวเชื่อมประสาน โดยที่ปริมาณเพสต์มีเพียงที่จะเคลือบผิวและเชื่อมระหว่างมวลรวมเท่านั้น ท� ำให้เกิดโพรงช่องว่างจ� ำนวนมากในเนื้อคอนกรีต ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าคอนกรีตพรุนประกอบด้วยส่วน หลัก ๓ ส่วน ส่วนแรกคือมวลรวมหยาบซึ่งมีปริมาณมากที่สุด ส่วนที่ ๒ คือวัสดุประสาน ท� ำหน้าที่เชื่อม มวลรวมหยาบเข้าไว้ด้วยกัน และส่วนสุดท้ายคือปริมาณโพรงช่องว่าง ดังแสดงในรูปที่ ๑ โพรงช่องว่างถือ เป็นสมบัติพิเศษของคอนกรีตพรุนโดยทั่วไปแล้วปริมาณโพรงช่องว่างจะมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ ๑๕-๓๕ (ACI 522R-10, 2010) โพรงเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นโพรงที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งมีผลท� ำให้น�้ ำและอากาศสามารถ ผ่านตัวคอนกรีตได้ดี คอนกรีตชนิดนี้จึงถูกน� ำมาใช้ประโยชน์ในการท� ำพื้นผิวทางเดิน ลาดจอดรถ หรือแม้ กระทั่งถนนที่ระบายน�้ ำได้เพื่อลดการเกิดปัญหาการไหลนองของน�้ ำฝนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน เมื่อฝนตก นอกจากนี้ การเจริญเติบโตของพื้นที่เมืองท� ำให้ต้องใช้พื้นที่มากขึ้น มีการก่อสร้างสาธารณูปโภค ปิดทับพื้นดินเดิม เกิดการลดลงของแหล่งชะลอน�้ ำตามธรรมชาติ น� ำไปสู่การไหลนองของน�้ ำบนผิวดิน ปริมาณการไหลนองของน�้ ำที่มากขึ้นนี้กระตุ้นให้เกิดการกัดเซาะตลิ่งมากขึ้น น�้ ำไม่สามารถไหลซึมลง เติมแหล่งน�้ ำใต้ดิน และไม่ถูกกรองจากชั้นดินตามระบบของธรรมชาติ น�้ ำในแม่น�้ ำล� ำคลองจึงเกิดการปน เปื้อนได้ง่ายกว่า (Field et al., 1982: 265-270), (Scholz and Grabowiecki, 2007: 3830-3836) การใช้ คอนกรีตพรุนเป็นพื้นผิวทางที่ระบายน�้ ำสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ คอนกรีตพรุนยังสามารถน� ำไปใช้ งานเป็นวัสดุกรอง ปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น�้ ำ และวัสดุในการดูดซับเสียงและฉนวนกัน ความร้อนได้อีกด้วย (Chareerat et al., 2009), (Park et al., 2005: 1846-1854), (Wong et al., 2007: 647-655), (Zaetang et al., 2013: 585-591), (Park and Tia, 2004: 177-184) คอนกรีตพรุนถูกใช้งานมายาวนานกว่า ๖๐ ปี โดยที่ในยุคแรกคอนกรีตพรุนไม่ได้ถูกพัฒนา เพื่อเป็นผิวทางระบายน�้ ำ การพัฒนาคอนกรีตพรุนเกิดมาจากการใช้คอนกรีตไม่มีมวลรวมละเอียด (no-fine aggregate concrete) ในยุโรป ออสเตรเลีย และแคนาดามีการสร้างบ้านจากคอนกรีตที่ไม่มี ทรายผสมอยู่ เป็นคอนกรีตที่มีเพียงหินหยาบผสมกับซีเมนต์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ท� ำให้ เกิดภาวะการขาดแคลนที่อยู่อาศัย การขาดแคลนวัสดุและการขาดแคลนฝีมือแรงงานในการก่อสร้าง ผนวกกับความต้องการก� ำจัดเศษอิฐจากซากปรักหักพังของโครงสร้าง ปัจจุบันคอนกรีตพรุนที่มีการวิจัย และพัฒนาสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่ คอนกรีตพรุนที่ถูกพัฒนาเพื่อเป็นคอนกรีตมวลเบา (lightweight concrete) โดยจะมีโพรงอากาศในเนื้อคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตมีน�้ ำหนักเบา สามารถใช้ ในงานผนังและโครงสร้างอาคาร อาจมีโพรงอากาศที่ต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ได้ แต่มุ่งเน้นที่ก� ำลังและ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=