สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
45 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ๓.๒ ปฏิทินจันทรคติดาราศาสตร์เป็นฐานข้อมูลส� ำหรับปฏิทินจันทรคติราชการไทย การประยุกต์ใช้ปฏิทินจันทรคติดาราศาสตร์เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการปรับเทียบปฏิทิน จันทรคติราชการไทยนั้นสามารถท� ำได้โดยการเปรียบเทียบร้อยละความสว่างของดวงจันทร์ที่พบสว่างที่สุด ในแต่ละวัน หรือการเปรียบเทียบร้อยละความสว่างของดวงจันทร์ ณ เวลา ๒๔:๐๐ น. ของแต่ละวัน การ กระท� ำนี้จะสามารถช่วยระบุวันเพ็ญ หรือ วันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ ของเดือนจันทรคติทุกเดือนได้อย่างถูกต้องตรง กับการสังเกตพบจันทร์เพ็ญจริง การจัดท� ำปฏิทินจันทรคติราชการไทยตามกฎ ๔ ข้อที่ยึดถือเป็นประเพณี มาแต่โบราณกาลนั้นจะมีความคลาดเคลื่อนไปจากธรรมชาติอย่างไรบ้าง รวมทั้งการก� ำหนดวันเข้าพรรษา นั้นจะสอดคล้องกับการเกิดฤดูฝนในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยหรือไม่ ควรก� ำหนดปีทางจันทรคติ ให้เป็น ปีปรกติมาส ปีอธิกมาส หรือ ปีอธิกวาร อย่างไรจึงจะสอดคล้องกับธรรมชาติและวันส� ำคัญทาง พระพุทธศาสนาและประเพณีไทยมากที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่าหากคณะผู้จัดท� ำปฏิทินจันทรคติราชการไทย สามารถมองเห็นถึงผลกระทบทั้ง ๔ ด้านที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว การจัดท� ำ ปฏิทินจันทรคติราชการไทยจะสามารถก� ำหนดวันเดือนปีทางจันทรคติได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความ ต้องการของสังคมไทย เช่น หากเปรียบเทียบข้อมูลจากปฏิทินจันทรคติดาราศาสตร์กับข้อมูลจากปฏิทิน จันทรคติราชการไทยแล้วจะพบว่าใน พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้ ถ้าปฏิทินจันทรคติราชการก� ำหนดให้เป็นปีอธิกวาร กล่าวคือ มีวันแรม ๑๕ เดือน ๗ เพิ่มขึ้นมาอีก ๑ วัน จะท� ำให้วันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๘ (วันอาสาฬหบูชา) ตรง กับวันที่ ๑๒ กรกฎาคม และจะท� ำให้ วันแรม ๑ ค�่ ำ เดือน ๘ (วันเข้าพรรษา) ตรงกับวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ตรงกับธรรมชาติของดวงจันทร์ที่จะพบในท้องฟ้าจริง สอดคล้องกับพระธรรมวินัย เรื่อง การก� ำหนดวันเข้า พรรษา นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับฤดูฝนในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยด้วย อนึ่ง การก� ำหนด พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้เป็นปีอธิกวารนี้จะท� ำให้การก� ำหนดวันออกพรรษาในปฏิทินจันทรคติราชการไทยเลื่อนออกไป ๑ วันด้วย กล่าวคือ วันออกพรรษาจะถูกเลื่อนจากวันที่ ๘ ตุลาคม ไปเป็นวันที่ ๙ ตุลาคม การเลื่อนนี้จะ ท� ำให้ไม่สอดคล้องกับการเกิดจันทร์เพ็ญในธรรมชาติที่พบจันทร์เพ็ญในคืนวันที่ ๘ ตุลาคม ซึ่งถึงแม้ว่าจะ ไม่ขัดกับพระธรรมวินัย เรื่อง การก� ำหนดวันเข้าพรรษา แต่ก็ยังไม่สอดคล้องกับจันทร์เพ็ญจริง ซึ่งไม่ควร จะเกิดขึ้นในระบบปฏิทินจันทรคติใด ๆ จะเห็นได้ว่าข้อก� ำหนด ๔ ข้อในการจัดท� ำปฏิทินจันทรคติราชการ ไทยหรือปฏิทินหลวงนี้ควรจะมีการปรับปรุงเพื่อท� ำให้การจัดท� ำปฏิทินจันทรคติไทยมีความยืดหยุ่นเพียง พอที่จะก� ำหนดวันและเดือนทางจันทรคติให้สอดคล้องกับธรรมชาติจริงได้ ข้อก� ำหนดที่ควรปรับเปลี่ยน มากที่สุดคือ ข้อก� ำหนดที่ ๑ ที่ก� ำหนดให้เดือนคู่จะต้องมี ๓๐ วัน ส่วนเดือนคี่จะต้องมี ๒๙ วันเท่านั้น การ ปรับเปลี่ยนข้อก� ำหนดให้เดือนทางจันทรคติต้องมีจ� ำนวนวันไม่เกิน ๓๐ วันแทนข้อก� ำหนดเดิมจะท� ำให้ ปฏิทินจันทรคติไทยในรูปแบบใหม่สามารถระบุวันทางจันทรคติให้สอดคล้องกับดิถีจริงของดวงจันทร์ได้ มากที่สุด กล่าวคือจะผิดพลาดโดยเฉลี่ยไม่เกิน ๐.๕ วัน ดังเช่นข้อค้นพบของ ลอย ชุนพงษ์ทอง นอกจากนี้ ยังท� ำให้ปฏิทินจันทรคติไทยในรูปแบบใหม่สามารถแสดงข้อมูลวันส� ำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันส� ำคัญ ทางวัฒนธรรมไทยได้ถูกต้องสอดคล้องต่อความต้องการของสังคมไทยอีกด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=