สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

43 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ก็ควรใช้ปฏิทินโหราศาสตร์ เมื่อต้องการทราบธรรมชาติของดวงจันทร์ในท้องฟ้าก็ควรใช้ปฏิทินจันทรคติ ดาราศาสตร์ไทย ๓.๑.๓ เพื่อให้ปฏิทินจันทรคติไทยสามารถก� ำหนดวันเข้าพรรษาได้สอดคล้องต้องตาม พระธรรมวินัยในขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับฤดูกาลของประเทศไทยด้วย ผู้เขียนจึงขอเสนอการก� ำหนด เกณฑ์การวางปีปรกติมาสและปีอธิกมาสส� ำหรับปฏิทินจันทรคติไทย คือโบราณาจารย์ของไทยถือว่า จันทร์เพ็ญจะเสวยอาสาฬหฤกษ์เมื่อจันทร์เพ็ญจะต้องปรากฏอยู่ใกล้กับฤกษ์ทางโหราศาสตร์ ๒ ฤกษ์ซึ่ง ตรงกับดาวฤกษ์เด่น ๒ ดวงในกลุ่มดาวคนยิงธนู ได้แก่ “ปุพพสาฒฤกษ์” ในราศีธนู ตรงกับ ดาวเดลตา-คน ยิงธนู ( δ-Sagittarii หรือ Kaus Media ) และ “อุตตราสาฒฤกษ์” ในราศีมกร ตรงกับ ดาวซิกมา-คนยิงธนู ( σ -Sagittarii หรือ Nunki ) ซึ่งมีพิกัดในระบบสุริยวิถี ( ecliptic coordinate ) คือ (๒๗๔.๔°,-๖.๕°) และ (๒๘๒.๓°,-๓.๕°) ตามล� ำดับ หากพบจันทร์เพ็ญปรากฏอยู่ใกล้กับฤกษ์ทั้งสองนี้โดยที่จุดศูนย์กลางของจันทร์ เพ็ญมีพิกัดลองจิจูดในระบบสุริยวิถีห่างไม่เกิน ๑๓.๓ องศาจากค่าพิกัดของปุพพสาฒฤกษ์และอุตตราสาฒ ฤกษ์ กล่าวคือ หากจุดศูนย์กลางของจันทร์เพ็ญมีลองจิจูดสุริยวิถีที่มีค่าระหว่าง ๒๖๑.๑ ถึง ๒๙๕.๖ องศา จะก� ำหนดให้วันดังกล่าวเป็น “วันเพ็ญ เดือน ๘” และหากวันเพ็ญที่พบเกิดขึ้นในฤดูฝนในบริเวณภาคกลาง ของประเทศไทยแล้ว ให้ก� ำหนดปีดังกล่าวเป็น ปีปรกติมาส วันเพ็ญดังกล่าวจะเป็นวันอาสาฬหบูชา ส่วน วันรุ่งขึ้นจะเป็น “วันแรม ๑ ค�่ ำ เดือน ๘” ถือเป็นวันเข้าพรรษาของปีปรกติมาส ที่เรียกว่า “ปุริมิกา หรือ วันเข้าพรรษาต้น” ๓.๒.๔ ถ้าหากวันเพ็ญที่พบในข้อ ๓.๒.๓ เกิดขึ้นในฤดูร้อนในบริเวณภาคกลางของ ประเทศไทยแล้ว ให้ก� ำหนดปีดังกล่าวเป็น “ปีอธิกมาส” โดยจะต้องเพิ่ม “เดือน ๘๘” อีก ๑ เดือนต่อ จากเดือน ๘ วันเพ็ญดังกล่าวจะเป็น “วันเพ็ญ เดือน ๘” ยังไม่จัดเป็นวันอาสาฬหบูชา โดยที่ในปีอธิกมาส นี้วันอาสาฬหบูชาจะตรงกับ “วันเพ็ญ เดือน ๘๘” และวันถัดไปจะเป็น “วันแรม ๑ ค�่ ำ เดือน ๘๘” ซึ่ง เป็นวันเข้าพรรษา ที่เรียกว่า “ปัจฉิมิกา หรือ วันเข้าพรรษาหลัง” การก� ำหนดปีปรกติมาสและปีอธิกมาส โดยใช้ธรรมชาติของการเริ่มต้นฤดูฝนเข้ามาพิจารณาร่วมกับการก� ำหนดวันเข้าพรรษานี้จะสอดคล้องกับ หลักการ ๑๓ ดับบังคับ ๑๓ เพ็ญ ที่น� ำเสนอโดย รองศาสตราจารย์สมัย ยอดอินทร์ และคณะ เพื่อปรับ ให้ปฏิทินจันทรคติไทยสอดคล้องกับฤดูกาล หากแต่เลือกใช้วิธีการพิจารณาการเริ่มต้นของฤดูฝนจากกรม อุตุนิยมวิทยาเพื่อความสอดคล้องกับความแปรปรวนของจุดเริ่มต้นฤดูฝนที่มีได้ถึงประมาณ ๒ สัปดาห์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=