สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปฏิ ทิ นจั นทรคติ : ... 42 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ดาราศาสตร์ที่ได้ผสมผสานการบอกถึงดิถีจริงของดวงจันทร์ในวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำให้ถูกต้องกับจันทร์เพ็ญเป็น ประจ� ำทุกเดือนจันทรคติ ผนวกกับการบอกถึงวันข้างขึ้นและข้างแรมอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำของ ๒ เดือนโดยการเฉลี่ยดิถีของดวงจันทร์เพื่อท� ำให้จ� ำนวนวันในปฏิทินต่อเนื่อง แนวความคิดนี้ไม่ได้ก� ำหนดให้เดือนคี่ต้องมี ๒๙ วัน ส่วนเดือนคู่ต้องมี ๓๐ วัน ดังที่ใช้อยู่ ในกฎระเบียบของปฏิทินจันทรคติราชการของไทย นอกจากนี้ ปฏิทินในระบบนี้ยังสามารถเปิดให้เกิดเดือน ทางจันทรคติที่มีจ� ำนวนวัน ๒๙ วัน หรือ ๓๐ วันติดต่อกันได้ตามดวงจันทร์ที่พบในธรรมชาติ ด้วยการจัด ระบบเช่นนี้ จึงไม่จ� ำเป็นที่ปฏิทินจันทรคติจะต้องวางปีที่มีจ� ำนวนวันเพิ่มขึ้น ๑ วัน หรือ ปีอธิกวาร แต่จะมี ปีที่มีจ� ำนวนเดือนเพิ่มขึ้น ๑ เดือน (มี ๑๓ เดือนใน ๑ ปี) หรือ ปีอธิกมาส ปรากฏขึ้นมาจากธรรมชาติของ ดวงจันทร์ที่พบในรอบปีโดยอัตโนมัติ ปฏิทินจันทรคติดาราศาสตร์ดังกล่าวจะมีข้อก� ำหนดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ๓.๑.๑ เสนอให้ ระบบปฏิทินจันทรคติของไทยระบุถึงวันและเวลาที่สังเกตพบ “จันทร์เพ็ญ ( Full Moon )” บนเมริเดียนอ้างอิงของประเทศไทยอย่างถูกต้องเป็นประจ� ำทุกเดือนจันทรคติ โดยอาศัยความรู้ทางดาราศาสตร์ แล้วก� ำหนดให้วันดังกล่าวเป็น “วันเพ็ญ ( Full Moon Day )” การท� ำเช่น นี้จะช่วยให้ปฏิทินจันทรคติไทยสอดคล้องกับการพบดวงจันทร์ที่มีลักษณะกลมสว่างในท้องฟ้ายามค�่ ำคืน นอกจากนี้ การก� ำหนดนี้ยังจะช่วยท� ำให้ปฏิทินจันทรคติไทยแสดงปรากฏการณ์อุปราคาได้อย่างถูกต้อง กล่าวคือ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาจะเกิดในวันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค�่ ำ และปรากฏการณ์จันทรุปราคาจะ เกิดในวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำเท่านั้น ๓.๑.๒ เพื่อให้ข้อเสนอแนะข้อ ๓.๑.๑ สามารถเกิดขึ้นได้ ระบบปฏิทินจันทรคติไทยจึง ควรยกเลิกการก� ำหนดให้เดือนคี่มี ๒๙ วัน (ไม่มีวันแรม ๑๕ ค�่ ำ) และเดือนคู่มี ๓๐ วัน (มีวันแรม ๑๕ ค�่ ำ) แล้วปรับเปลี่ยนให้ธรรมชาติการเกิดดิถีของดวงจันทร์ในธรรมชาติเป็นตัวก� ำหนดวันข้างขึ้นและวันข้างแรม อื่น ๆ โดยการเพิ่มขึ้นหรือลดลงครั้งละ ๑ วันทางจันทรคติในรอบปักข์ และก� ำหนดให้แต่ละปักข์มีจ� ำนวน วันได้ไม่เกิน ๑๕ วัน วันสุริยคติที่เพิ่มขึ้นจากวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค�่ ำนั้นก� ำหนดให้เป็นข้างแรม เริ่มจากวันแรม ๑ ค�่ ำ เพิ่มขึ้นครั้งละ ๑ วันไปจนถึงวันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค�่ ำ ส่วนวันสุริยคติที่ลดลงจากวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค�่ ำ นั้นจะก� ำหนดให้เป็นข้างขึ้นโดยจะลดลงครั้งละ ๑ วันไปจนถึงวันขึ้น ๑ ค�่ ำ การก� ำหนดนี้สอดคล้องกับหลัก การเดินปักข์ของปฏิทินปักขคณนาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่อาจมีความแตกต่างของ การก� ำหนดวันเพ็ญที่ไม่ตรงกันของเดือนจันทรคติแต่ละเดือน และด้วยวิธีการนี้ปฏิทินจันทรคติดาราศาสตร์ จึงไม่จ� ำเป็นต้องมีการก� ำหนดปีอธิกวารขึ้นในระบบของปฏิทิน การกระท� ำตามข้อเสนอแนะในข้อ ๓.๑.๑ และ ๓.๑.๒ จะท� ำให้ปฏิทินจันทรคติ ดาราศาสตร์ไทยแตกต่างจากปฏิทินโหราศาสตร์จากส� ำนักโหราศาสตร์ของไทยทุกส� ำนักซึ่งค� ำนวณจาก คัมภีร์สุริยยาตร์ แต่จะไม่เกิดผลกระทบใด ๆ ต่อวงการโหราศาสตร์ถ้าใช้ปฏิทินจันทรคติดาราศาสตร์เฉพาะ ในการระบุวันส� ำคัญทางศาสนาและทางวัฒนธรรมเท่านั้น กล่าวคือ เมื่อต้องการค� ำท� ำนายทางโหราศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=