สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปฏิ ทิ นจั นทรคติ : ... 40 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ๒.๒ ผลกระทบต่อการระบุวันส� ำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากการก� ำหนดวันธรรมสวนะและการก� ำหนดวันลงปาติโมกข์ของพระภิกษุสงฆ์ ตามพระไตรปิฎก (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๖๖-๑๖๘) กล่าวว่า “ล� ำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรง ท� ำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน ๑๔ ค�่ ำ ๑๕ ค�่ ำ และ ๘ ค�่ ำ แห่งปักษ์” ซึ่งการก� ำหนดได้ท� ำโดยอาศัยปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ไม่ได้ก� ำหนดโดยการใช้ดิถีของดวงจันทร์ในธรรมชาติ เช่นเดียวกับการก� ำหนดวันเข้าพรรษา ดังนั้น หากปฏิทินจันทรคติราชการได้ก� ำหนดวัน ๑๔ ค�่ ำ ๑๕ ค�่ ำ และ ๘ ค�่ ำ แห่งปักษ์อย่างไร วันธรรมสวนะและวันลงปาติโมกข์ของพระภิกษุสงฆ์ก็จะต้องถูกก� ำหนดตาม วันในปฏิทินนั้น จึงไม่มีผลของความคลาดเคลื่อน หากแต่การก� ำหนดวันส� ำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอื่น ๆ ได้แก่ วันมาฆบูชา (วันเพ็ญ เดือน ๓) วันวิสาขบูชา (วันเพ็ญ เดือน ๖) และวันอาสาฬหบูชา (วันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ เดือน ๘๘) ซึ่งเป็นวันเพื่อระลึกถึงคุณของพระศรีรัตนตรัยนั้น หากประชาชนที่ไป เข้าร่วมการเวียนเทียนสังเกตเห็นดวงจันทร์ไม่มีลักษณะกลมสว่างเต็มดวงสอดคล้องกับความรู้สึกของบุคคล โดยทั่วไปแล้ว ประชาชนอาจเกิดความลังเลสงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อาจจะท� ำให้เกิดความ ไม่เชื่อมั่นในการจัดท� ำปฏิทินจันทรคติไทยได้ ผู้เขียนเห็นว่าการระบุวันที่เกิดจันทร์เพ็ญจริงโดยอาศัย ความรู้ทางดาราศาสตร์นั้นสามารถกระท� ำได้อย่างแน่นอนแล้วในยุคปัจจุบัน ดังนั้น การจัดท� ำปฏิทินจันทรคติ ไทยจึงควรใช้ความรู้นี้เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนชาวไทยในวันส� ำคัญทางศาสนาดังกล่าว ๒.๓ ผลกระทบต่อวันส� ำคัญตามวัฒนธรรมของไทย วิถีชีวิตของคนไทยนั้นมีความสัมพันธ์กับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของไทยอย่าง แน่นแฟ้น และวัฒนธรรมไทยที่ส� ำคัญหลายอย่างมีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์การเกิดดิถีของดวงจันทร์ เช่น ประเพณีลอยกระทง ที่จะต้องกระท� ำในวันเพ็ญ เดือน ๑๒ (หรือประเพณียี่เป็ง ส� ำหรับภาคเหนือ) ประเพณีนมัสการองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ประเพณีบุญข้าวสาก จังหวัด อุบลราชธานี ที่จะต้องท� ำในวันเพ็ญ เดือน ๑๐ หรือ ประเพณีสารท เดือน ๑๐ ซึ่งเป็นความเชื่อทางภาค ใต้ของประเทศไทยที่ส่งเสริมให้ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติผู้ใหญ่ผู้ล่วงลับในวันแรม ๑ ค�่ ำ เดือน ๑๐ วัฒนธรรมเหล่านี้สัมพันธ์กับการเกิดดิถีของดวงจันทร์โดยเฉพาะจันทร์เพ็ญ ดังนั้น การระบุดิถีของดวงจันทร์ ให้ถูกต้องสอดคล้องกับที่ปรากฏในท้องฟ้าย่อมจะเป็นการส่งเสริมขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ของ คนไทยให้สอดคล้องกับการปฏิบัติที่สืบทอดต่อ ๆ กันมานับตั้งแต่โบราณ อีกทั้งการค� ำนวณปฏิทินจันทรคติ ให้สอดคล้องกับดิถีจริงของดวงจันทร์ก็ถือเป็นวัฒนธรรมที่ส� ำคัญแก่วิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นแฟ้น กับความเชื่อทางโหราศาสตร์ของคนไทยมาแต่โบราณกาล เช่น ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม ความเชื่อเรื่องการ ท� ำนายดวงชะตาชีวิต หรือ ความเชื่อทางไสยศาสตร์ต่าง ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=