สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

37 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ อนึ่ง การก� ำหนดวันเข้าพรรษาส� ำหรับปฏิทินจันทรคติไทยในปัจจุบันนิยมใช้การค� ำนวณหาวันออก พรรษาก่อน จากนั้นจึงนับย้อนหลังมา ๘๙ วันเป็นวันเข้าพรรษา (นับย้อนมา ๙๐ วันเป็นวันอาสาฬหบูชา) วิธีการนี้จะสามารถค� ำนวณหาวันออกพรรษาได้ถูกต้อง แต่อาจจะไม่สามารถก� ำหนดวันเข้าพรรษาได้ ถูกต้องเสมอไป เพราะดวงจันทร์ในธรรมชาติมีวงโคจรรอบโลกด้วยวงโคจรรูปวงรีน้อย ๆ (เกือบเป็นวงกลม) และมีอัตราเร็วในการโคจรไม่คงตัว ผลจึงท� ำให้จ� ำนวนวันใน ๓ เดือนทางจันทรคติที่ติดต่อกันไม่จ� ำเป็นจะ ต้องเท่ากับ ๙๐ วันเสมอไป เช่น ใน พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้ วันออกพรรษาได้ถูกก� ำหนดให้เป็นวันที่ ๘ ตุลาคม หรือ วันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๑๑ และวันเข้าพรรษาได้ถูกก� ำหนดให้เป็นวันที่ ๑๒ กรกฎาคม หรือ วันแรม ๑ ค�่ ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่นับย้อนหลังจากวันเข้าพรรษามา ๘๙ วัน หากแต่เมื่อพิจารณาดวงจันทร์ใน วันที่ ๑๒ กรกฎาคม เวลา ๒๔:๐๐ น. แล้ว จะพบว่าดวงจันทร์มีความสว่างร้อยละ ๙๙.๙ จึงควรก� ำหนด ให้วันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ดวงจันทร์มีความ สว่างร้อยละ ๙๗.๗ จึงควรเป็นวันแรม ๑ ค�่ ำ เดือน ๘ หรือวันเข้าพรรษา ตามการปรากฏของดวงจันทร์ จริงในท้องฟ้า และจ� ำนวนวันนับระหว่างวันที่ควรเป็นวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษาใน พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้ จึงมีเพียง ๘๘ วันเท่านั้น (เช่นเดียวกับใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ตามข้อมูลในตารางที่ ๑) ปัญหาเช่นเดียวกันนี้ ยังได้เกิดขึ้นแล้วใน พ.ศ. ๒๕๔๘ และถูกน� ำเสนอโดย พลต� ำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ การเข้าพรรษา ที่เร็วกว่าธรรมชาติของดวงจันทร์ ใน พ.ศ. ๒๕๕๗ นั้นจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการเข้าพรรษาไม่ครบถ้วน แต่เป็นการเข้าพรรษาเกิน ๑ วัน ผู้เขียนเป็นผู้มีความรู้น้อยในทางพระพุทธศาสนาจึงไม่อาจระบุได้ว่าจัด เป็น อาบัติทุกกฎ ตามพระธรรมวินัยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การเข้าพรรษาไม่ตรงวันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความ ตั้งใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงขอฝากประเด็นนี้เอาไว้เพื่อท่านผู้ที่มีความรู้แตกฉานทางพระพุทธศาสนา เป็นผู้อภิปรายและให้ข้อสรุปต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=