สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
35 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ๒.๑ ผลกระทบต่อพระธรรมวินัยเรื่องการก� ำหนดวันเข้าพรรษา การก� ำหนดวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษานั้นได้ยึดตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นเสมือน กฎที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปต้องปฏิบัติเพื่อความอยู่เป็นสุข (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑) กล่าวว่า “พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิ กา วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ว วันหนึ่ง พึงเข้าพรรษาต้น เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือนหนึ่งพึงเข้าพรรษาหลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเท่านี้แล” ฤกษ์อาสาฬหะตามที่กล่าวถึงในพระธรรมวินัยข้อนี้นั้น ได้ถูกก� ำหนดโดยโบราณาจารย์ให้มีอยู่ ๒ ฤกษ์ที่อ้างอิงตามดาวฤกษ์เด่น ๒ ดวงในกลุ่มดาวคนยิงธนู ได้แก่ “ปุพพสาฒฤกษ์” ในราศีธนู ตรงกับดาวฤกษ์มีชื่อเรียกว่า ดาวสัปคับช้าง ดาวปากนก ดาวช้างตัวผู้ ดาว ราชสีห์ผู้ หรือ ดาวแรดตัวเมีย มีชื่อสากลว่า ดาวเดลตา-คนยิงธนู ( δ -Sagittarii หรือ Kaus Media ) และ “อุตตราสาฒฤกษ์” ในราศีมกร ตรงกับดาวฤกษ์มีชื่อเรียกว่า ดาวแตรงอน ดาวราชสีห์ตัวเมีย ดาวครุฑ ดาวช้างตัวเมีย ดาวแตรทอง ดาวแรดตัวผู้ มีชื่อสากลว่า ดาวซิกมา-คนยิงธนู ( σ -Sagittarii หรือ Nunki ) วันเข้าพรรษานั้นถูกก� ำหนดโดยใช้จันทร์เพ็ญที่พบในธรรมชาติ หากปฏิทินจันทรคติระบุวันเพ็ญเดือน ๘ ส� ำหรับปีปรกติมาส หรือวันเพ็ญเดือน ๘๘ คลาดเคลื่อนไปจากการพบจันทร์เพ็ญในธรรมชาติจริงแล้ว จะท� ำให้การก� ำหนดวันเข้าพรรษาคลาดเคลื่อนไปจากพระธรรมวินัยข้อนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=