สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปฏิ ทิ นจั นทรคติ : ... 32 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 คาบดิถีเฉลี่ย =(๓๖๐×๖๐) / (อัตราโคจรมัธยมจันทร์ใน๑วัน÷๑๐ ๖ -อัตราโคจรมัธยมอาทิตย์ใน๑วัน÷๑๐ ๖ ) = (๓๖๐ × ๖๐) / (๗๙๐๕๘๑๐๐๓๒ ÷ ๑๐ ๖ - ๕๙๑๓๖๑๗๑๖ ÷ ๑๐ ๖ ) = ๒๙.๕๓๐๕๙๓๕๑๔ วัน ปฏิทินปั กขคณนาค� ำนวณหาดิถีจันทร์ ในแต่ ละวันโดยการทดดิถีของดวงจันทร์ ไป ครั้งละ ๑ วัน จากวันอ้างอิงเริ่มต้น บนกระดานส� ำหรับเดินทดโดยใช้หมุดไม้ในการช่วยเดิน เรียกว่า กระดานปักขคณนา เนื่องจากคาบดิถีเฉลี่ยของปฏิทินปักขคณนาคลาดเคลื่อนจากเดือนดาราคติประมาณ ๐.๐๐๐๐๐๕๕๓๓ วันในรอบ ๑ เดือนจันทรคติ หรือประมาณ ๐.๐๐๐๐๖๖๔๐ วันในรอบ ๑ ปี ซึ่งดูเหมือน จะมีค่าความแตกต่างกันน้อยมาก หากแต่การเดินปักข์ในปฏิทินปักขคณนาได้ก� ำหนดวันแรกในการเดินให้ เป็นวันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๒๗๙ (ค.ศ. ๑๗๓๖) ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและให้ เป็นวันแรม ๑ ค�่ ำ หากแต่ข้อมูลทางดาราศาสตร์พบว่าวันดังกล่าวควรเป็นวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ ดังนั้น จึงท� ำให้ ปฏิทินปักขคณนาอาจคลาดเคลื่อนจากธรรมชาติของดวงจันทร์ที่พบในท้องฟ้าได้เช่นเดียวกับการค� ำนวณ จากคัมภีร์สุริยยาตร์ อนึ่ง ความคลาดเคลื่อนของปฏิทินปักขคณนาที่พบในปัจจุบันมีค่าน้อยกว่าที่พบจาก คัมภีร์สุริยยาตร์ เช่น วันวิสาขบูชาใน พ.ศ. ๒๕๕๗ ปฏิทินปักขคณนาจะคลาดเคลื่อนเพียง ๑.๐๘ วันเท่านั้น ส่วนปฏิทินที่ค� ำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตร์คลาดเคลื่อนมากที่สุดถึงประมาณ ๒.๑๗ วัน ผู้เขียนเชื่อว่าควร ปรับการเดินปักข์ของปฏิทินปักขคณนาเทียบกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยในยุค ปัจจุบัน เช่น วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ปฏิทินปักขคณนาระบุให้เป็นวันขึ้น ๑ ค�่ ำ หากแต่ธรรมชาติ ของปรากฏการณ์เกิดสุริยุปราคาจะเกิดเมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในวันข้างแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค�่ ำ ดังนั้น จึงควรปรับปฏิทินปักขคณนาให้สอดคล้องกัน การปรับเทียบปฏิทินปักขคณนากับธรรมชาตินี้อาจช่วยให้ มีความแม่นย� ำต่อการเกิดดิถีของดวงจันทร์จริงมากยิ่งขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=