สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

29 นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ๑.๑ ความรู้ทางดาราศาสตร์ส� ำหรับปฏิทินสุริยจันทรคติไทย ความรู้ทางดาราศาสตร์ในปัจจุบันได้พัฒนาการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ได้อย่างละเอียด จนสามารถพบคาบดิถีเฉลี่ยได้อย่างแม่นย� ำ ส� ำหรับคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ นี้ คาบดิถีเฉลี่ยของดวงจันทร์จะ มีค่าประมาณ ๒๙.๕๓๐๕๘๗๙๘๑ วัน หากก� ำหนดให้ ๑ ปีสุริยะมี ๑๒ เดือนดิถีแล้ว ๑ ปีสุริยะจะมีจ� ำนวน วันเท่ากับ ๓๕๔.๓๗ วัน แต่เนื่องจากคาบเวลาเฉลี่ยของ ๑ ปีสุริยะตามปฏิทินเกรกอรีมีจ� ำนวนวันเท่ากับ ๓๖๕.๒๔๒๕ วัน จึงอาจมีจ� ำนวนวันแตกต่างกันได้ถึง ๑๐.๘๘ วันในรอบปี หรือมีจ� ำนวนวันหายไปถึง ๓๒.๖๔ วัน (ประมาณ ๑ เดือนจันทรคติ) ในรอบ ๓ ปี ดังนั้น เมื่อระบบปฏิทินที่นิยมใช้ของประเทศไทยได้ น� ำข้อมูลจากปฏิทินจันทรคติมาแสดงร่วมกับปฏิทินเกรกอรีซึ่งเป็นปฏิทินในระบบสุริยคติ (เรียกว่า ปฏิทิน สุริยจันทรคติไทย หรือ Thai lunisolar calendar ) แล้ว อาจก่อให้เกิดความแตกต่างของจ� ำนวนวันในรอบปี ได้มาก ระบบปฏิทินจันทรคติไทยจึงมีการชดเชยจ� ำนวนเดือนจันทรคติที่หายไปนี้ด้วยการเพิ่มเดือนขึ้น ๑ เดือนในทุก ๆ รอบ ๒-๓ ปีจันทรคติ (เรียกชื่อว่า ปีอธิกมาส) หรือ ด้วยการเพิ่มจ� ำนวนวันขึ้น ๑ วันในบางปี (เรียกชื่อว่า ปีอธิกวาร) เพื่อช่วยปรับให้ปฏิทินจันทรคติสอดคล้องกับปฏิทินเกรกอรีและธรรมชาติการเกิด ดิถีของดวงจันทร์ ความพยายามในการปรับปฏิทินจันทรคติไทยให้มีความสอดคล้องนี้ก็เพื่อที่ระบบปฏิทิน ของไทยจะได้แสดงข้อมูลของทั้ง ๒ ระบบได้อย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความศรัทธาทาง ศาสนา จึงได้มีการค้นคิดจากนักปราชญ์ชาวไทยกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความรู้ทางดาราศาสตร์สามารถค� ำนวณหาดิถีเฉลี่ยของดวงจันทร์ หรือ เฟสเฉลี่ยของดวง จันทร์ (F) ของแต่ละวันในรอบเดือนจันทรคติได้อย่างแม่นย� ำโดยค� ำนึงถึงผลการรบกวนส� ำคัญทั้งหมดที่ อาจเกิดขึ้นได้ ดังความสัมพันธ์ตามชุดของสมการต่อไปนี้ F = 0.5 (l - cos D) D = l" - λ 0 l" = l' + v v = 0.6583 sin 2 (l' - λ 0 ) โดยที่ D คือ ค่ามุมที่แสดงอายุของดวงจันทร์ในวันที่ต้องการค� ำนวณหาดิถีเฉลี่ยของดวงจันทร์ λ 0 คือ ค่าลองจิจูดสุริยวิถีของดวงอาทิตย์ในวันที่ต้องการค� ำนวณหาดิถีเฉลี่ยของดวงจันทร์ v คือ ค่าความผันแปรของวงโคจรของดวงจันทร์ l" คือ ค่าลองจิจูดจริง (true orbital longitude) ของดวงจันทร์ในวงโคจรจริง (true orbit) รอบโลก และ l' คือ ค่าลองจิจูดแก้ไข (moon’s corrected longitude) ของดวงจันทร์ในวงโคจรจริง ซึ่ง นิยมใช้ค่าแก้ไขที่มีความละเอียดถึงพจน์ที่ ๔ (รายละเอียดแสดงในหนังสือของ Peter Duffett-Smith หน้า ๑๔๓)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=