สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึงระบบปฏิทินสุริยจันทรคติที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทางสุริยคติจากระบบปฏิทินเกรกอรีและข้อมูลทางจันทรคติจากระบบปฏิทิน จันทรคติของไทย อันเป็นระบบปฏิทินที่ระบุถึงวัน-เดือน-ปีตามลักษณะของดิถีและต� ำแหน่งของดวง จันทร์ที่ปรากฏในท้องฟ้า การค� ำนวณข้อมูลทางจันทรคติที่พบในประเทศไทยมี ๓ วิธี ได้แก่ การ ค� ำนวณหาดิถีเฉลี่ยและต� ำแหน่งโดยประมาณของดวงจันทร์ตามคัมภีร์สุริยยาตร์ การหาดิถีเฉลี่ย ของดวงจันทร์ด้วยการเดินปักข์บนกระดานปักขคณนา และการค� ำนวณหาดิถีและต� ำแหน่งของดวง จันทร์จริงด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ การหาดิถีเฉลี่ยของดวงจันทร์ใน ๒ วิธีแรกนั้นจะค� ำนวณโดยใช้ ดวงจันทร์สมมุติที่โคจรรอบโลกด้วยอัตราเร็วคงตัว มีคาบดิถีเฉลี่ยประมาณ ๒๙.๕๓๐๕๘๓๒๑๕ วัน และ ๒๙.๕๓๐๕๙๓๕๑๔ วัน ตามล� ำดับ ส่วนวิธีที่ ๓ เป็นการค� ำนวณโดยใช้ดวงจันทร์จริงที่โคจรรอบ โลกด้วยอัตราเร็วไม่คงตัว มีคาบดิถีเฉลี่ยประมาณ ๒๙.๕๓๐๕๘๗๙๘๑ วัน เนื่องจากระบบปฏิทิน จันทรคติของไทยอาศัยผลการค� ำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตร์เป็นหลัก ดังนั้น จึงพบการระบุวันธรรม สวนะ (วัน ๑๔ ค�่ ำ วัน ๑๕ ค�่ ำ และวัน ๘ ค�่ ำ ของเดือนจันทรคติ) เร็วกว่าวันที่ควรจะเป็นตามดิถี ของดวงจันทร์จริงประมาณ ๑ วันได้มากถึง ๒๔ ครั้งใน พ.ศ. ๒๕๕๖ และ ๓๔ ครั้งใน พ.ศ. ๒๕๕๗ ปฏิทินจันทรคติ : ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก ความคลาดเคลื่อนในปฏิทินจันทรคติของไทย และแนวทางในการพัฒนาข้อมูลทางจันทรคติ ด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์* นิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน จตุรงค์ สุคนธชาติ กรรมการจัดท� ำพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ *บรรยายในการประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=