สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หลั งคาเปลื อกบางและโครงสร้าง ๓ มิ ติ ชนิ ดอื่ น ๆ 22 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 รูปที่ ๕๖ หลังคาศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า BITEC ที่บางนา กรุงเทพฯ รูปที่ ๕๕ การเสริมเหล็กบริเวณหัวเสา ซึ่งท� ำด้วยท่อเหล็กขนาดใหญ่ รูปที่ ๕๗ สนามกีฬาในร่มที่ British Colum - bia, ประเทศแคนาดา เป็นโครงสร้างชนิดอัดลม รูปที่ ๕๘ โครงหลังคาภายในเหนืออัฒจันทร์ ๕. โครงสร้างอัดอากาศ ( pneumatic structure ) โครงสร้างชนิดนี้ท� ำงานเหมือนถุงลมขนาดใหญ่ อัดอากาศให้เต็ม วัสดุที่ใช้เป็นเหมือนผ้าสังเคราะห์มี ความเหนียว ทนทานต่อแรงอัดภายใน และน�้ ำหนัก บรรทุกภายนอก เช่น ลมกระโชก ฝน ลูกเห็บ หิมะ รวม ทั้งอุณหภูมิที่เย็นจัดจนถึงร้อนจัด และต้องทนทานต่อ ผลกระทบจากการที่ต้องสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเล็ต จากแสงแดด โครงสร้างแบบอัดอากาศนี้ มักใช้ท� ำเป็น หลังคาขนาดกลางชั่วคราว เช่น ในงานแสดงสินค้า แต่ ก็มีใช้เป็นหลังคาถาวรขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬาในร่มที่ ประเทศแคนาดา ดังรูปที่ ๕๗ ถึง ๕๙ ซึ่งถ่ายไว้เมื่อครั้ง ที่ไปทัศนศึกษากับสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ ไทยฯ การอัดอากาศใช้พัดลมขนาดใหญ่หลายเครื่อง เปิดเต็มที่เมื่อจะใช้งาน เมื่อไม่มีการแข่งกีฬาก็จะเปิด เพียง ๒-๓ เครื่อง พอให้หลังคาทรงตัวอยู่ได้ หลังคานี้ เมื่อไม่มีพัดลมอัดอากาศ จะยุบลงมาภายใน ๓-๔ ชั่วโมง แต่ถ้าอัดอากาศจนมีความดันสูงเกินไปจะมีลิ้นนิรภัย โดยเจาะหลังคาส่วนบน เป็นช่องส� ำหรับระบายอากาศ ส่วนที่เกินออก จนความดันอยู่ในระดับที่พอดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=