สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หลั งคาเปลื อกบางและโครงสร้าง ๓ มิ ติ ชนิ ดอื่ น ๆ 16 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 แม้แต่น้อยจะต้องแก้ไขทันที ไม่ใช่ฝืนยกขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อ ป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ และต้องรีบยกให้เสร็จเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ทันได้แกว่ง แต่ต้องยกให้ระดับเท่ากันตลอด เวลา โดยปราศจากการกระตุก วัสดุที่ใช้ท� ำโครงข้อหมุนชนิด ๒ มิติ ส่วนใหญ่ ใช้เหล็กรูปพรรณ เพราะหาซื้อง่าย มีรูปร่างและขนาด ต่าง ๆ กัน สามารถต่อได้ด้วยแผ่นเหล็กประกับ ( gusset plate ) มีอยู่บ้างที่ใช้องค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ดัง เช่นในรูปที่ ๓๖ เป็นโครงถักคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่วง ประมาณ ๓๐ เมตร ช่วงเสาด้านข้างประมาณ ๑๐ เมตร สูง ๕ เมตร กรณีเช่นนี้จะเรียก “โครงข้อหมุน” ก็ไม่สนิท ใจนัก เพราะจะเกิดโมเมนต์ที่จุดร่วมมากพอสมควร ซึ่ง วิศวกรผู้ค� ำนวณออกแบบจะต้องค� ำนึงถึงด้วย ๒.๒ โครงข้อหมุนชนิด ๓ มิติ โครงข้อหมุนชนิดนี้อาจเรียกว่าโครง ๓ มิติ ( space frame ) หรือโครงข้อหมุน ๓ มิติ ( space truss ) ปรกติใช้กับหลังคาที่มีช่วงกว้างและยาวมาก ๆ แต่มีความสูงจ� ำกัด ลักษณะคล้ายกับน� ำเอาโครงข้อหมุน วางเรียงติด ๆ กันทั้ง ๒ ทางตั้งฉากกัน จุดต่อ (joint ) ขององค์อาคารที่เป็นเหล็กรูปพรรณหรือท่อเหล็กอย่าง หนาจะต้องออกแบบเป็นพิเศษ เพราะมีจ� ำนวนมากกว่า ชนิด ๒ มิติมาก โครงสร้างที่เป็นส่วนหลังคาจะผลิต ภายในประเทศ หรือสั่งผลิตจากต่างประเทศก็ได้ ผลิต เสร็จแล้วน� ำมาประกอบ ณ สถานที่ก่อสร้าง คือบริเวณที่ จะติดตั้งหลังคานั่นเอง เมื่อประกอบเสร็จก็ยกขึ้นติดตั้ง บนที่รองรับ ซึ่งสร้างไว้ล่วงหน้าแล้ว ปรกติจะไม่ใช้วิธีเชื่อมโครงหลังคากับที่รองรับที่เป็นคาน โดยเฉพาะที่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะอาจเกิดปัญหาการหดตัวของเหล็กที่ใช้ท� ำโครงข้อหมุน ซึ่งถ้าการหดตัวนั้น มีปริมาณมากอาจท� ำให้เกิดการวิบัติของที่รองรับได้ รูปที่ ๓๕ ก� ำลังยกชุดที่ ๒ รูปที่ ๓๖ โครงข้อหมุนท� ำด้วยคอนกรีต เสริมเหล็ก คอร์ดบนรับหลังคา คอร์ดล่างรับพื้นที่ท� ำการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=