สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

15 อรุณ ชั ยเสรี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ตัวอย่างโครงหลังคาโรงงานในรูปที่ ๓๒ มีช่วงกว้าง ประมาณสิบกว่าเมตร แต่ด้านข้างยอมให้มีเสาห่างกัน ประมาณ ๕ เมตรเป็นระยะ ๆ โครงข้อหมุนนี้ท� ำด้วย เหล็กรูปพรรณชนิดรูปตัว U และรูปตัว C ต่อกันที่จุด ต่อด้วยแผ่นเหล็กประกับ แต่ละโครงถูกประกอบบนพื้น ซึ่งหล่อคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย แล้วใช้รถยกธรรมดาใน การยกติดตั้ง ข้อควรระวังคือ เมื่อยกโครงเสร็จจ� ำนวน หนึ่ง ต้องรีบใช้เหล็กเชื่อมขวางชั่วคราว เพื่อยึดแต่ละ โครงไม่ให้ล้มเพราะลมกระโชกดังได้กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะถ้าเป็นโครงรูปจั่วจะล้มง่าย เพราะสูง รูปที่ ๓๓ แสดงถึงอาคารสูง ๓๒ ชั้น รวมทั้งหลังคา ที่ท� ำเป็นอาคาร ๓ แท่ง แต่ละแท่งมีขนาด ๓๖ × ๓๖ เมตร ช่วงว่างระหว่างอาคาร ( clear span ) ๒๕ เมตร ตั้งแต่ชั้น ๒๕ ขึ้นไปอีก ๗ ชั้น ต่อเชื่อมอาคารทั้ง ๓ แท่งเข้าด้วยกัน ถ้าก่อสร้างแบบธรรมดาจะต้องใช้ นั่งร้านค�้ ำยันที่สูงมาก และต้องวางค�้ ำยันบนพื้นที่ชั้น ๗ อีกด้วย จึงได้ออกแบบให้เป็นโครงข้อหมุนชนิด ๒ มิติ ทั้งหมด ๔ ชุด ชุดละ ๒ โครง แล้วใช้แม่แรงไฮดรอลิก ยกโครงเหล็กทั้งระบบ ครั้งละ ๑ ชุด ขึ้นไปวางบนที่ รองรับชั้น ๒๕ เสร็จแล้วจึงสร้างต่อจนถึงชั้นที่ ๓๒ การที่ประกอบโครงข้อหมุนที่พื้นชั้นล่างเพราะ การเชื่อมเหล็กรูปพรรณที่เป็นองค์อาคารเป็นท่อน ๆ กระท� ำได้ง่าย การตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอย เชื่อมด้วยเอกซเรย์ก็ท� ำได้ทั่วถึง ไม่มีจุดบอด อุปสรรค ในการยกโครงใหญ่ขนาดนี้มีอยู่อย่างเดียว คือกระแส ลมเวลานั้นค่อนข้างแรง ทุกอย่างต้องเตรียมพร้อมทั้ง ตัวแม่แรง เครื่องควบคุม ลวดสลิง รอก รอยเชื่อม ต้องตรวจสอบอย่างละเอียด ถ้าพบข้อบกพร่องใด ๆ รูปที่ ๓๒ โครงรับหลังคาโรงงาน ชนิด ๒ มิติ ท� ำด้วยเหล็กรูปพรรณ รูปที่ ๓๓ อาคารที่เป็นคอนโดมิเนียมพักอาศัย อาคารพาณิชย์ ห้องโถงจัดเลี้ยง รูปที่ ๓๔ การยกโครงข้อหมุน ๑ ชุดเข้าที่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=