สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

13 อรุณ ชั ยเสรี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ เปลือกบางที่นับว่าสร้างง่ายที่สุด เห็นจะ เป็นพวกเปลือกบางทรงปริซึม ( prismatic shell ) คือ ไม่มีส่วนใดโค้ง ไม้เคร่าเป็นแนวตรง ตัวเปลือกบางก็ เป็นแผ่นเรียบ พับแบบเดียวกับการพับกระดาษ เช่น หรือ รูปร่างจึงค่อนข้างจ� ำกัด และช่วงยาวก็มักจะไม่มากนัก ดังตัวอย่างในรูปที่ ๓๐ และ ๓๑ เปลือกบางแบบนี้ค� ำนวณออกแบบโดยทฤษฎี แรงดัด ( bending theory ) เช่นเดียวกับที่ใช้ค� ำนวณ ออกแบบคานแบน ๆ คือใช้ส่วนตั้งท� ำหน้าที่รับโมเมนต์ ดัดและแรงเฉือนเช่นเดียวกัน แม้การสร้างแบบหล่อ ง่ายกว่าเปลือกบางที่โค้ง ๒ ทาง แต่จะสิ้นเปลืองเหล็ก เสริมมากกว่า อีกประการหนึ่ง การระบายความร้อน ภายในอาคารที่ใช้เปลือกบางชนิดนี้ค่อนข้างยาก ไม่ สามารถที่จะให้อากาศร้อนระบายออกเองโดยธรรมชาติ จ� ำเป็นต้องใช้พัดลมดูดอากาศร้อนออก หรือมิฉะนั้นก็ ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ รูปที่ ๒๘ หอถังน�้ ำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) สูง ๒๙ เมตร รูปที่ ๒๙ หอถังน�้ ำ บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม รูปที่ ๓๑ หลังคาห้องประชุม คณะมนุษยศาสตร์ รูปที่ ๓๐ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=