สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หลั งคาเปลื อกบางและโครงสร้าง ๓ มิ ติ ชนิ ดอื่ น ๆ 12 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 รูปที่ ๒๕ ไม้เคร่ารองรับแบบหล่อคอนกรีต ซึ่งยุ่งยากมาก รูปที่ ๒๖ หลังจากปูไม้แบบและวางเหล็กเสริม หลักแล้ว รูปที่ ๒๗ ขณะเทคอนกรีต ฉะนั้น ในการก่อสร้างจึงต้องใช้วิธีวัดระยะ ความสูงของหลังคาที่ปรากฏในแบบโดยตรง โดยตีเส้น เป็นตะแกรง แล้ววัดความสูงที่จุดตัดทุกจุด แล้วจึงตั้ง ค�้ ำยันและปูไม้แบบตามนั้น รูปที่๒๖แสดงการเสริมเหล็ก โดยกระจายเหล็กเสริมทั่วไปทั้งหมดออกเป็นตะแกรง ๒ ชั้น ที่เห็นเป็นแถบตรงแนวบรรจบของส่วนโค้งหลังคา ที่ต่อเนื่องกัน มีลักษณะเหมือนโครงโค้ง ( arch ) รูปตัว วีแบน ๆ ท� ำหน้าที่ถ่ายแรงอัดลงสู่ที่รองรับลงสู่ฐานราก ในรูปยังขาดเหล็กเสริมตามแนวขอบของหลังคา ซึ่งเมื่อ เสริมเหล็กดังกล่าวเสร็จ ก็ถึงขั้นเทคอนกรีต การเทคอนกรีตก� ำหนดให้เทจากข้างล่างขึ้นไป เพื่อให้คอนกรีตด้านล่างมีก� ำลังเพียงพอที่จะรับน�้ ำ หนักของคอนกรีตที่เทข้างบนในเวลาต่อมา และให้เท ต่อเนื่องกันทั้งกลางวันกลางคืน เพื่อไม่ให้มีรอยต่อเลย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการร้าวเนื่องจากการหดตัวของคอนกรีต นอกจากใช้ท� ำหลังคาแล้ว ยังสามารถน� ำ เปลือกบางมาประยุกต์เป็นหอถังน�้ ำได้ เช่น ที่แสดงใน รูปที่ ๒๘ และรูปที่ ๒๙ ซึ่งเป็นหอถังน�้ ำที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยน� ำเอาส่วน ของเปลือกบางรูปโคนอยด์ ( conoid ) มาประยุกต์เป็น ตัวถัง ท� ำให้น�้ ำที่มีแรงดันสูงมีปริมาณมากกว่าปริมาณ น�้ ำที่มีแรงดันต�่ ำสุด (คือที่ก้นถัง) ซึ่งดีกว่าถังน�้ ำรูปทรง กระบอกที่มีพื้นที่ก้นถังเท่ากับขอบบนของถัง ส่วนค่า ก่อสร้างก็ไม่ได้สูงกว่าถังรูปทรงกระบอก เพราะถังรูป กรวยจะมีแรงดัดน้อยกว่า ข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เสาที่ขึ้นไปรับถังน�้ ำจะแคบกว่า เช่น ถังน�้ ำในรูป ที่ ๒๘ มีเสาเพียงต้นเดียว ท� ำเป็น ๔ แฉก สามารถเจาะ เสานั้นเป็นช่อง ให้บันไดเวียนคอนกรีตผ่านได้ ส� ำหรับ คนขึ้นไปตรวจสอบบ� ำรุงรักษาได้สะดวก มีผนังกันตก ป้องกันอุบัติเหตุได้ด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=