สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

11 อรุณ ชั ยเสรี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ให้สมมาตรเฉลี่ยตลอดทั้งพื้นที่ ทั้งนี้ให้ตัดเฉพาะปลาย ค�้ ำยันก่อน ให้ห่างจากไม้แบบเล็กน้อย แล้วตอกลิ่มไม้ รองรับแทน เมื่อตัดปลายค�้ ำยันและเสียบลิ่มค�้ ำไว้แทน ครบทั้งหมดแล้ว จากนั้นให้ตอกลิ่มออกพร้อม ๆ กัน และสมมาตรต่อกัน ถึงขั้นนี้ไม้แบบจะหลุดออกมาโดย ง่าย หลังคาเปลือกบางก็เป็นอิสระ น�้ ำหนักทั้งหมดก็ลง สู่ที่รองรับเท่า ๆ กันทั้ง ๔ จุด (รูปที่ ๒๒) เมื่อถอดแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นสุดท้ายคือ ทาสี เนื่องจากหลังคามีพื้นที่ต่อเนื่องกันกว้างมาก จึงได้ เลือกใช้สีที่มีเบสเป็นยาง สามารถป้องกันมิให้แสงแดด สัมผัสกับผิวหลังคาโดยตรง และสามารถยืดหดตัวตาม คอนกรีตที่ใช้ท� ำหลังคาเปลือกบางได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกัน การร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ ดังได้กล่าวแล้ว (รูปที่ ๒๓) ๑.๔ หลังคาเปลือกบางชนิดผสม หลังคาเปลือกบางสามารถปรับปรุง รูปแบบได้มากมาย บ้างก็น� ำเปลือกบางชนิดต่าง ๆ มา ผสมผสานกันหรือดัดแปลงให้เป็นรูปเครื่องใช้ไม้สอย เช่น ถังเก็บน�้ ำสูง ๆ บ้างก็ท� ำเป็นรูปร่างอิสระ ปราศจาก หลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ หรือเรขาคณิตใด ๆ ตัวอย่างเช่น ตึกประชุม multidispensary คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในรูปที่ ๒๔ หลังคาเปลือกบางโค้งไปตามลักษณะของห้องที่ใช้ งาน เช่น โค้งที่ใหญ่ที่สุดคลุมห้องประชุม โค้งเล็ก เป็นห้องท� ำงาน ด้านตะวันออกโค้งหงายขึ้นคลุมห้อง ฉายภาพยนตร์ การค� ำนวณออกแบบค่อนข้างยาก เพราะไม่มีหลักทางเรขาคณิตที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการ ค� ำนวณ การสร้างแบบหล่อคอนกรีตก็ยาก เพราะแทบ จะไม่มีส่วนใดที่โค้งเท่ากัน รัศมีการโค้งต่างกันทั้งหมด (รูปที่ ๒๕) รูปที่ ๒๒ หลังจากถอดไม้แบบและไม้ค�้ ำยัน ออกแล้ว รูปที่ ๒๓ ภายนอกของหลังคาเปลือกบาง เสร็จเรียบร้อย รูปที่ ๒๔ ตึกประชุม multidispensary คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=