สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การประเมิ นต้นทุนการผลิ ตไฟฟ้าจากวั สดุเหลื อใช้ทางการเกษตรในประเทศไทย 162 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 จากตารางที่ ๔ พบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้าของเชื้อเพลิงทั้ง ๘ ชนิดมีค่าอยู่ในช่วง ๒.๑๐ ถึง ๖.๔๐ บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยที่ค่าความชื้นของเชื้อเพลิง ราคาเชื้อเพลิง และค่าขนส่ง เป็น ปัจจัยโดยตรงที่ท� ำให้เกิดความแปรผันของต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้า เมื่อพิจารณาจากราคารับซื้อ ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงซึ่งมีอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่รวมและไม่รวมส่วนเพิ่ม ราคารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ ๓.๓๐ และ ๓.๐๐ บาท/กิโลวัตต์ - ชั่วโมง ตามล� ำดับ พบว่า ค่าเชื้อเพลิงควรมีค่า น้อยกว่า ๗๐.๕๘ × ๑๐ -๓ และ ๕๙.๕๕ × ๑๐ -๓ บาท/เมกะจูล ตามล� ำดับ เชื้อเพลิงวัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตรเกือบทั้งหมดมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ยกเว้น ฟางข้าวที่มีความหนาแน่นต�่ ำ กะลาปาล์ม ที่มีราคาสูง และเหง้ามันส� ำปะหลังที่มีค่าความชื้นเชื้อเพลิงสูง จึงเหมาะสมเป็นเชื้อเพลิงเสริมมากกว่าที่จะ เป็นเชื้อเพลิงหลัก เชื้อเพลิงและแหล่งเชื้อเพลิงไม่ควรอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้ามากเกินไป สรุป เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเชื้อเพลิงมวลชีวภาพที่มีในประเทศไทยคือระบบเผาตรง และเชื้อเพลิงมวลชีวภาพประเภทวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีความเป็นไปได้ในการน� ำมาผลิตไฟฟ้า ได้แก่ ยอดอ้อย ใบอ้อย ซังข้าวโพด ใยปาล์ม และทะลายปาล์ม โดยพบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิต ไฟฟ้ากว่าร้อยละ ๖๐ เป็นค่าเชื้อเพลิงและค่าขนส่ง แหล่งเชื้อเพลิงที่มีค่าความหนาแน่นต�่ ำไม่ควรอยู่ห่าง จากโรงไฟฟ้า ถ้ามีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และ/หรือให้ส่วนเพิ่มราคา รับซื้อไฟฟ้าสูงขึ้น ก็จะช่วยส่งเสริมการน� ำมวลชีวภาพมาใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยฉบับนี้ส� ำเร็จด้วยดี เนื่องจากผู้วิจัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากส� ำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากส� ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน (พพ.) ส� ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=