สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การประเมิ นต้นทุนการผลิ ตไฟฟ้าจากวั สดุเหลื อใช้ทางการเกษตรในประเทศไทย 154 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 บทน� ำ จากแผนพัฒนาก� ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๗๓ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๓) (ส� ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, ๒๕๕๕) ได้ก� ำหนดแผนพัฒนาก� ำลังการผลิตไฟฟ้าจากมวลชีวภาพ ณ เวลาสิ้น พ.ศ. ๒๕๗๓ รวมทั้งสิ้น ๒,๖๐๒.๒๐ เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘๕ ของแผนทั้งหมด และ ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีการก� ำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ขนาดเล็กกรณีที่รวมและไม่รวมส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่ ๓.๓๐ และ ๓.๐๐ บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ทั้งนี้ ควรมีการพิจารณาการก� ำหนดราคารับซื้อให้เหมาะสมตามต้นทุนการผลิตจริงโดยไม่สูงเกินไปจนเป็นภาระ ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อให้เป็นไปได้ที่จะผลิตไฟฟ้าจากมวลชีวภาพของประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้คัด เลือกเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เหมาะสมส� ำหรับใช้ในประเทศไทย และ ประเมินต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงดังกล่าว ผลที่ได้สามารถน� ำไปใช้ก� ำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อ ไฟฟ้าที่เหมาะสม วิธีการด� ำเนินการวิจัย ขั้นตอนการด� ำเนินการวิจัยมีดังต่อไปนี้ ๑. ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าจากมวลชีวภาพ และวัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตรประเภทต่าง ๆ ๒. คัดเลือกประเภทเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม และเลือกประเภทวัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตร โดยประเมินศักยภาพและปริมาณที่ยังไม่ได้น� ำมาใช้ ๓. วิเคราะห์การผลิตไฟฟ้า โดย ๓.๑ หาปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้า จากสมการที่ (๑) W = (m)(E)(LHV)(OH)(3.6) (๑) โดยที่ m = อัตราการป้อนเชื้อเพลิงเข้าระบบ (ตัน/ปี) W = ขนาดโรงไฟฟ้า (เมกะวัตต์) E = ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้ารวมของโรงไฟฟ้า (ร้อยละ) LHV = ค่าความร้อนต�่ ำของเชื้อเพลิง (เมกะจูล/กิโลกรัม) OH = ชั่วโมงการท� ำงานของโรงไฟฟ้า (ชั่วโมง/ปี)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=