สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ แกลบ ฟางข้าว ยอดใบอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันส� ำปะหลัง ใยปาล์ม กะลาปาล์ม และทะลายปาล์ม จากผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากมวลชีวภาพที่นิยม ใช้กันคือ ระบบ Stoker boiler ที่ใช้กังหันไอน�้ ำ ส่วนต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ขนาด ๑๐ เมกะวัตต์ ที่ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงพบว่ามีค่าอยู่ในช่วง ๒.๑๐ ถึง ๖.๔๐ บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และค่าขนส่ง อย่างไร ก็ตาม เมื่อพิจารณาเทียบจากค่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากมวลชีวภาพปัจจุบัน กรณีที่รวมและไม่ รวมส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ต้นทุนดังกล่าวเท่ากับ ๓.๓๐ และ ๓.๐๐ บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ตาม ล� ำดับ ต้นทุนเชื้อเพลิงรวมค่าขนส่งควรมีค่าน้อยกว่า ๗๐.๕๘ × ๑๐ -๓ และ ๕๙.๕๕ × ๑๐ -๓ บาท/ เมกะจูล ตามล� ำดับ ดังนั้น เชื้อเพลิงที่มีความเป็นไปได้ในการน� ำมาผลิตไฟฟ้าจึงได้แก่ ยอดใบอ้อย ซังข้าวโพด ใยปาล์ม และทะลายปาล์ม ถ้าให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสูงขึ้น ก็จะช่วยส่งเสริม การน� ำมวลชีวภาพมาใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ค� ำส� ำคัญ : การผลิตไฟฟ้า, มวลชีวภาพ, ต้นทุน การประเมินต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรในประเทศไทย สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน สายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สุขวัฒก์ ธันธรา สายวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วารุณี เตีย สายวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=