สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

149 สายชล เกตุษา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ข้อดีของการเก็บรักษาโดยวิธี CA ๑. สามารถควบคุมความเข้มข้นของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดช่วงการเก็บรักษา ๒. สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ได้นานกว่าการเก็บรักษาโดยวิธี MA ข้อเสียของการเก็บรักษาโดยวิธี CA ๑. ต้นทุนสูง ๒. วิธีการยุ่งยาก ต้องมีอุปกรณ์หลายอย่าง ๓. อาจท� ำให้ผักและผลไม้เกิดรสชาติและกลิ่นผิดปรกติได้ถ้าระดับความเข้มข้นของออกซิเจน ต�่ ำมากเกินไป และ/หรือความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์สูงมากเกินไป นอกจากการเก็บรักษาโดยวิธี MA และ CA ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีการเก็บรักษาโดยวิธี การดัดแปลงสภาพบรรยากาศที่ควบคุมได้โดยวิธีการลดความดัน (low pressure, hypobaric) หลักการ คือภายใต้ความดันที่ลดลง ปริมาณออกซิเจนจะลดลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความดันที่ลดลงของบรรยากาศ ซึ่งสามารถควบคุมความเข้มข้นของออกซิเจนให้อยู่ในระดับที่ต�่ ำและแน่นอนได้ดีกว่าวิธี CA แต่สภาพของ ห้องเก็บรักษาโดยวิธีลดความดันจะต้องแข็งแรงและทนต่อความดันที่ลดลงมาก สุ่มเสี่ยงต่ออันตรายที่จะ เกิดแก่ทรัพย์สินและบุคคล ดังนั้น การเก็บรักษาโดยการลดความดันจึงเป็นเพียงงานวิจัยและไม่ได้น� ำมา ใช้ในทางปฏิบัติทางการค้า ประโยชน์ของการเก็บรักษาโดยการดัดแปลงสภาพบรรยากาศ ถ้ามีการเก็บรักษาผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นวิธี CA หรือ MA อย่างถูกต้องร่วมกับอุณหภูมิต�่ ำ ที่เหมาะสม จะเกิดประโยชน์ทั้งสิ้น นอกเหนือจากการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของผักและผลไม้แล้ว ยังมี ประเด็นส� ำคัญที่ MA และ CA ท� ำให้เกิดประโยชน์คือ ๑. ยับยั้งกระบวนการสุกของผลไม้ (รูปที่ ๓) พร้อมกับกระบวนการเปลี่ยนทางชีวเคมีและสรีระ ต่าง ๆ เช่น การหายใจ การสร้างเอทิลีน การอ่อนนุ่ม การเปลี่ยนสี ๒. ลดความไวการตอบสนองของผลไม้ที่มีต่อเอทิลีนในบรรยากาศที่ออกซิเจนต�่ ำกว่าร้อยละ ๘ หรือคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าร้อยละ ๑ หรือทั้ง ๒ อย่างร่วมกัน ๓. ลดอาการผิดปรกติทางสรีระบางอย่างของผลิตผล เช่น อาการสะท้านหนาว ตกกระสีน�้ ำตาล ของผักกาดหอม การผิดปรกติบางอย่างของผลแอปเปิลระหว่างการเก็บรักษา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=