สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
147 สายชล เกตุษา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ สูงขึ้น หรือควบคุมทั้งปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ การควบคุมทั้ง ปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในสมัยเริ่มต้นที่เก็บรักษาโดยวิธี CA นั้น การควบคุมทั้งปริมาณ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างยุ่งยาก กล่าวคือ การควบคุมระดับความเข้มข้นของออกซิเจน ให้ลดลงตามที่ต้องการนั้นท� ำโดยการปลดปล่อยแก๊สไนโตรเจนเข้าแทนที่แก๊สออกซิเจนในห้องเก็บรักษา จนกระทั่งได้ความเข้มข้นออกซิเจนตามที่ต้องการ ต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการควบคุมระดับออกซิเจน โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน เช่น มีเทน แต่ท� ำให้เกิดปัญหามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก จากการเผาไหม้ จึงเปลี่ยนเป็นวิธีการเผาแอมโมเนีย ซึ่งท� ำให้ปริมาณออกซิเจนลดลงและไม่ปล่อยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ขณะที่การควบคุมความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์นั้น แก๊สนี้อาจจะมีความเข้มข้นสูง ในระยะเริ่มการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ดังข้างต้น และคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะเกิดจากการหายใจ ของผักและผลไม้ปล่อยออกมาระหว่างการเก็บรักษา วิธีการควบคุมความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ ให้สูงมากเกินไปก็คือการใช้สารเคมีที่สามารถท� ำปฏิกิริยาเคมีกับคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น สารละลายของ ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ ( NaOH ) โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ( KOH ) หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ [ Ca(OH) 2 ] หรืออาจจะใช้สารดูดซับประเภทอื่น ๆ เช่น ถ่านกัมมันต์ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการควบคุมความเข้มข้นของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในระดับที่ต้องการด้วยวิธีการที่ง่าย โดยมีบริษัทที่ได้สร้างอุปกรณ์ส� ำเร็จรูปเพื่อควบคุมระดับความเข้มข้นออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ตามที่ต้องการ ( CA generator ) อุปกรณ์ส� ำเร็จรูปที่ใช้ควบคุม CA นี้ท� ำงานควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม ในการใช้อุปกรณ์ส� ำเร็จรูปที่ใช้ควบคุม CA ผู้ใช้ต้องมีข้อมูลเบื้องต้นของความเข้มข้น ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ตามที่ต้องการส� ำหรับการเก็บรักษาผักและผลไม้พันธุ์นั้น ๆ ที่อุณหภูมิ ที่ก� ำหนดด้วย ผู้ที่ต้องการเก็บรักษาผลิตผลโดยวิธี CA ไม่ใช่เพียงแต่สั่งอุปกรณ์ CA generator แล้วน� ำ มาติดตั้งใช้งานร่วมกับห้องเย็นเท่านั้น หากต้องวางแผนการลงทุนใช้ CA ให้รอบคอบ เพราะอุปกรณ์ CA generator มีราคาค่อนข้างแพงคิดเป็นเงินหลายล้านบาท จากรายงานผลการวิจัยพบว่า ผักและผลไม้ที่มี ถิ่นก� ำเนิดในเขตร้อนไม่ประสบความส� ำเร็จในการเก็บรักษาโดยวิธี CA อย่างผักและผลไม้ที่มีถิ่นก� ำเกิดใน เขตหนาว มีผลไม้บางชนิดเท่านั้นที่สามารถเก็บรักษาโดยวิธี CA ได้ผลดีและท� ำเป็นการค้า คือ แอปเปิล การเก็บรักษาแอปเปิลโดยใช้อุณหภูมิต�่ ำหรือห้องเย็นในบรรยากาศปรกติสามารถเก็บรักษาแอปเปิลได้นาน ๔-๖ เดือน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ การเก็บรักษาแอปเปิลโดยวิธี CA ท� ำให้สามารถเก็บรักษาแอปเปิลได้นานถึง ๑ ปีหรือนานกว่า ท� ำให้มีแอปเปิลขายในตลาดตลอดทั้งปีทั้งที่ไม่ใช่ฤดูกาลของแอปเปิล การเก็บรักษาโดยวิธี CA นั้นอาจจะควบคุมเพียงความเข้มข้นของออกซิเจนอย่างเดียว หรือควบคุมความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเดียว หรือความเข้มข้นของทั้งออกซิเจนและ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เหมาะส� ำหรับผักและผลไม้ชนิดนั้น ๆ ความเข้มข้นของออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของผักและผลไม้ และอุณหภูมิ (ตารางที่ ๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=