สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

143 สายชล เกตุษา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ และผลไม้นานขึ้นกว่าการใช้อุณหภูมิต�่ ำเพียงอย่างเดียว การดัดแปลงสภาพบรรยากาศมีทั้งไม่สามารถ ควบคุมให้เสถียร ( modified atmosphere, MA ) และสามารถควบคุมให้เสถียร ( controlled atmosphere, CA ) ระหว่างการเก็บรักษา การดัดแปลงสภาพบรรยากาศที่ควบคุมไม่ได้ ( MA ) แม้ว่าสภาพบรรยากาศดัดแปลงจะไม่สามารถควบคุมให้เสถียรตามที่ต้องการได้ระหว่างการ เก็บรักษา แต่การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่ไม่แน่นอนนี้ยังอยู่ในระดับที่สามารถยับยั้งหรือชะลอการ เปลี่ยนแปลงโดยที่ยังไม่ท� ำให้เกิดอันตรายแก่ผักและผลไม้ การเก็บรักษาผักและผลไม้ในถุงพลาสติกเป็น ตัวอย่างที่ดีของการเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในช่วงแรกของการเก็บรักษา ในสภาพดังกล่าว ปริมาณออกซิเจนยังคงสูง และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงต�่ ำ เมื่อเวลาการเก็บ รักษาผ่านไป ปริมาณออกซิเจนจะค่อย ๆ ลดลง และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น (รูปที่ ๑) เพราะการหายใจของผักและผลไม้จะใช้ออกซิเจน แต่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าการระบายอากาศไม่ดี จนปริมาณออกซิเจนต�่ ำมาก และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงมาก จะท� ำให้เกิดอันตรายแก่ผักและผลไม้ และท� ำให้ผักและผลไม้เกิดกลิ่นและรสชาติที่ผิดปรกติได้ ดังนั้น เมื่อใช้ฟิล์มพลาสติกห่อหุ้มหรือถุงพลาสติก บรรจุผักและผลไม้ จะต้องระวังไม่ให้มีปริมาณออกซิเจนต�่ ำเกินไป และ/หรือปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ มากเกินไป (ตารางที่ ๑ และ ๒) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิ ชนิดฟิล์มพลาสติก ความหนาของฟิล์ม พลาสติก การท� ำช่องระบายบนฟิล์มพลาสติก ชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ในถุงพลาสติก ไม่เหมาะ สม สภาพบรรยากาศที่เหมาะสมจะถูกก� ำหนดโดยปัจจัยดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องมีการทดลองให้ได้เงื่อนไข ที่เหมาะสมส� ำหรับผักและผลไม้แต่ละชนิดก่อนน� ำไปใช้จริง มิฉะนั้นอาจจะเกิดความเสียหายแก่ผักและผล ไม้ได้ ในปัจจุบันมีการใช้ฟิล์มพลาสติกหรือถุงพลาสติกชนิดต่าง ๆ มากในการห่อหรือบรรจุผักและผลไม้สด (รูปที่ ๒) ท� ำให้รักษาความสดและยืดอายุผักและผลไม้สดซึ่งเป็นผลจากการท� ำให้เกิดสภาพบรรยากาศ ดัดแปลงแม้ว่าจะไม่สามารถควบคุมได้ แต่ก็เกิดประโยชน์มาก นอกจากนี้ ยังมีการใช้สารดูดซับเอทิลีน (ethylene absorbent) แก๊สเอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชที่สร้างและปล่อยออกมาโดยผักและผลไม้ เอทิลีนนี้ เป็นตัวการส� ำคัญท� ำให้ผักและผลไม้เสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็วแม้ว่าจะเก็บรักษาที่อุณหภูมิต�่ ำ ในปัจจุบัน มีการใช้สาร 1-methylcyclopropene (1-MCP) รมผักและผลไม้ก่อนการเก็บรักษาโดยวิธี MA และ CA สาร 1-MCP เป็นสารที่ยับยั้งการท� ำงานของเอทิลีน ท� ำให้ผักและผลไม้เสื่อมคุณภาพช้าและมีอายุการเก็บ รักษานานขึ้น (ตารางที่ ๓) ข้อดีของสภาพบรรยากาศดัดแปลงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ๑. เป็นวิธีการที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก ๒. ต้นทุนต�่ ำ ฟิล์มพลาสติกและถุงพลาสติกมีราคาถูก ๓. ลดการสูญเสียน�้ ำของผลิตผล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=