สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิ วั ฒนาการ อนุกรมวิ ธาน และการกระจายตั วของผึ้ งในประเทศไทย 136 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ในอดีตนักวิชาการในประเทศไทยเข้าใจว่า ผึ้งม้านเป็นชนิดเดียวกันกับผึ้งมิ้ม จนกระทั่ง Wongsiri และคณะ ( Wongsiri et al., 1990: 47-52 ) ได้รายงานการพบผึ้งม้านเป็นครั้งแรก ( newrecord ) ในประเทศไทย ซึ่งมีรายงานว่าพบที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด และบริเวณป่าเชิงเขาในจังหวัดทางภาคเหนือ ของประเทศไทย ส่วนในภาคอีสานพบที่จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๖ พบที่บริเวณป่า จังหวัดเพชรบุรี ภูเก็ต พังงา และสุราษฎร์ธานี ( Rattanawannee, 2007: 451-460 ) และในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ต� ำบลห้วยเขย่ง อ� ำเภอทองผาภูมิ (สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ, ๒๕๕๐) ท� ำให้ทราบถึงขอบเขตการกระจายตัว ของผึ้งชนิดนี้ในประเทศไทยมากขึ้น รูปที่ ๘ แสดงให้เห็นว่า ผึ้งมิ้มและผึ้งม้านมีสายวิวัฒนาการที่ใกล้เคียง กัน แต่การกระจายตัวของผึ้งมิ้มในประเทศไทยมีมากกว่าผึ้งม้าน รูปที่ ๑๒ แสดงให้เห็นว่า ผึ้งม้านมีการ กระจายเพียงบางจังหวัดเท่านั้น จึงยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของความแตกต่างในการเลือกถิ่นอาศัยของ ผึ้งทั้ง ๒ ชนิด หากผึ้งทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน น่าจะมีการแก่งแย่งแข่งขัน หรือมีการปรับตัว เพื่อลดการแก่งแย่งแข่งขันลง ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ถ้าผึ้งม้านมีความเฉพาะเจาะจงต่อการเลือกสร้าง รัง ย่อมส่งผลต่อการอยู่รอดของผึ้งม้านที่อาจจะลดจ� ำนวนลงและอาจถูกก� ำจัดออกไปจากพื้นที่ถิ่นอาศัย เดิมหรือสูญพันธุ์ได้ ในบางท้องถิ่นโดยเฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ผึ้งม้านไม่ปรากฏในท้องถิ่นที่ มีสภาพเป็นเมืองในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=