สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิ วั ฒนาการ อนุกรมวิ ธาน และการกระจายตั วของผึ้ งในประเทศไทย 134 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ผึ้งที่สร้างรังในโพรงมีขนาดตัวปานกลาง เล็กกว่าผึ้งหลวง สร้างรังหลายรวง อาศัยอยู่ตามโพรงไม้ โพรงดิน โพรงหิน หรือตามอาคารบ้านเรือน มี ๕ ชนิด คือ ผึ้งพันธุ์ Apis mellifera ซึ่งมีถิ่นก� าเนิดทาง ยุโรปและแอฟริกา เชื่อว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันกับผึ้งโพรงของเอเชีย แต่ได้มีวิวัฒนาการแยกสายออกไป อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปและแอฟริกา หลังจากนั้นได้ถูกน� าเข้ามาเลี้ยงในทวีปเอเชียในศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ปัจจุบันมีการเลี้ยงแพร่หลายไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ และ สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์, ๒๕๕๕), ผึ้งโพรง Apis cerana ซึ่งพบแพร่กระจายเกือบทุกประเทศในทวีปเอเชีย จากตะวันตกของ ประเทศอัฟกานิสถานถึงประเทศฟ ลิปป นส์และเหนือสุดคืออัสซูเรียจนถึงใต้สุดของเกาะชวาและติมอร์ ใน ประเทศไทยพบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ผึ้งซาบา Apis koschevnikovi ซึ่งพบ ที่มาเลเซียและบอร์เนียว, ผึ้งภูเขาบอร์เนียว Apis nuluensis ซึ่งมีรายงานพบที่บอร์เนียว และ ผึ้งโพรง อินโดนีเซีย หรือ ผึ้งสุลาวีเซียน Apis nigrocincta พบบริเวณสุลาเวสี สากิห์ และมินดาเนา ( Oldroyd and Wongsiri, 2006 ) รูปที่ ๑๐ การกระจายตัวของผึ้งที่สร้างรังในโพรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Oldroyd and Wongsiri, 2006 ) A. cerana A. koschevnikovi A. nigrocincta A. nuluensis

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=