สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
7 อรุณ ชั ยเสรี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ดังเช่น หลังคาของภัตตาคารแห่งหนึ่ง ในรูปที่ ๑๑ ซึ่งท� ำเป็นรูปเปลือกบางรูปอานม้า ( saddle shell ) ขนาด ๒๕ x ๒๕ เมตร มีที่รองรับ ๔ จุด คือ ไฮเพอร์โบลิกพาราโบลอยด์ชนิด ๒ ขา ๒ ชิ้นวางขวางซ้อน กัน และลบมุมแหลมออกนั่นเอง ดูเผิน ๆ แล้วเหมือนกับจะก่อสร้างยาก แต่ถ้าเข้าใจวิธีการขึ้นรูปของ ไฮเพอร์โบลิกพาราโบลอยด์แล้วจะง่ายมาก เพราะไม้เคร่าทุกชิ้นเป็นเส้นตรงทั้งหมด ไม่มีเลยที่จะเป็น เส้นโค้ง เนื่องจากหลังคาแบบอานม้านี้ไม่มีจุดใดที่แหลมและความสูงทั้งหมดก็อยู่ในระดับที่ไม่ต่างกัน มากนักจึงไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า นอกจากนี้ยังสามารถน� ำเปลือกบาง เช่น ไฮเพอร์โบลิกพาราโบลอยด์หลาย ๆ หน่วยมาต่อกัน เช่น หอสมุดกลาง หลังแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รูปที่ ๑๓) มีขนาด ๒๐ x ๘๐ เมตร ประกอบด้วย เปลือกบางชนิดไฮเพอร์โบลิกพาราโบลอยด์รวม ๑๓ กลีบต่อกันด้วยโครงถักเหล็ก มุงด้วยวัสดุโปร่งแสง รูปที่ ๑๑ หลังคาภัตตาคารที่ จ.ชลบุรี ท� ำเป็นรูปอานม้า รูปที่ ๑๒ โครงเคร่าของหลังคาแบบอานม้า ประกอบด้วยเส้นตรงทั้งสิ้น รูปที่ ๑๓ อาคารหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รูปที่ ๑๔ สร้างแบบจ� ำลองเพื่อให้แน่ใจว่า ระบบไม้แบบถูกต้อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=