สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
131 สิ ริ วั ฒน์ วงษ์ศิ ริ , สิ ทธิ พงษ์ วงศ์วิ ลาศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ Oldroyd และคณะ ( Oldroyd et al.,1998: 700-709 ) ได้ศึกษาพฤติกรรมและลักษณะทางสัณฐาน วิทยาที่เกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ของผึ้งในสกุล Apis แล้วน� ำมาสร้างแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ( clado- gram ) (รูปที่๘) โดยน� ำเอาลักษณะ mating sign ซึ่งเป็นส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งตัวผู้ที่ติดมากับนางพญา หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้วเป็นตัวชี้วัด การผสมพันธุ์พบในกลุ่มชันโรงซึ่งเป็นผึ้งไม่มีเหล็กในที่ใกล้เคียงกับ ผึ้งในสกุล Apis การปรับกลไกการผสมพันธุ์ของผึ้งกลุ่มนี้เป็นแนวทางที่เพิ่มความส� ำเร็จในการผสมพันธุ์ พบในกลุ่มที่สร้างรังในที่โล่งแจ้ง ได้แก่ ผึ้งมิ้ม ผึ้งม้าน และผึ้งหลวง นางพญาผึ้งจะผสมพันธุ์หลายครั้งและ ขับเอาตัวอสุจิส่วนเกินออก ลักษณะนี้ถือว่าเป็นลักษณะโบราณ ส่วนผึ้งกลุ่มที่มีการสร้างรังหลายชั้นและอยู่ ในโพรง คือ ผึ้งพันธุ์และผึ้งโพรง จะเพิ่มประสิทธิภาพของการผสมพันธุ์โดยการมีช่องรับตัวอสุจิ ( penile bulb ) ขนาดใหญ่ท� ำให้สามารถส่งต่อตัวอสุจิเข้าสู่ถุงเก็บตัวอสุจิในผึ้งนางพญาโดยตรง ผลการใช้ลักษณะดังกล่าว เมื่อน� ำมาสร้างแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์พบว่า ผึ้งมิ้ม ผึ้งม้าน และผึ้งหลวง มีวิวัฒนาการที่ต�่ ำกว่าผึ้ง พันธุ์และผึ้งโพรง ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับสายวิวัฒนาการของ Engel และ Sholtz (1997) ที่ใช้ RNA และ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกันในการสร้างสายวิวัฒนาการขึ้นมาและพบว่า ผึ้งมิ้ม ผึ้งม้าน และผึ้งหลวง อยู่ในกลุ่มที่มีวิวัฒนาการใกล้เคียงกันและมีวิวัฒนาการต�่ ำกว่าผึ้งพันธุ์และผึ้งโพรง อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลทาง DNA ของผึ้งทั้ง ๙ ชนิด (รูปที่ ๘) ท� ำให้ Oldroyd และ Wongsiri (Oldroyd and Wongsiri , 2006) กล่าวว่า ผึ้งมิ้มและผึ้งม้านมีวิวัฒนาการใกล้เคียงกันมาก โดยพบว่าผึ้งมิ้มมี วิวัฒนาการแยกจากผึ้งม้านไม่ถึงหนึ่งล้านปี เมื่อพิจารณาจากทฤษฎีวิวัฒนาการของคอคอดกระ ( biogeography of the Isthmus of Kra )
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=