สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วิ วั ฒนาการ อนุกรมวิ ธาน และการกระจายตั วของผึ้ งในประเทศไทย 130 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 การแบ่งวงศ์ต่าง ๆ ของกลุ่มผึ้งอาศัยลักษณะที่แตกต่างกันในโครงสร้างภายนอกเป็นหลัก เช่น เส้นลายปีก ลักษณะปาก หนวด จ� ำนวนขน สีของล� ำตัวผึ้ง ลักษณะของขาหลัง ขนาดล� ำตัวผึ้ง ตัวอย่างคือ ชันโรงเป็นผึ้งขนาดเล็กที่สุด และไม่มีเหล็กใน แต่แมลงภู่เป็นผึ้งขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังอาศัยลักษณะ พฤติกรรมทางสังคม เช่น ผึ้งเป็นแมลงสังคมชั้นสูง แต่ผึ้งกัดใบ ( leaf cutting bee ) เป็นผึ้งที่อยู่เดี่ยว ๆ วิวัฒนาการทางสังคมผึ้งตลอดจนความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมได้แสดงไว้ในแผนภูมิวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ท� ำให้ทราบวิวัฒนาการของผึ้งจากพวกต�่ ำสุดไปถึงพวกผึ้งที่มีโครงสร้างสังคมสูงที่สุดตามล� ำดับวงศ์ต่าง ๆ ( Morse, 1975 ) ตารางที่ ๑ แมลงสังคมในอันดับ Hymenoptera (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ และ สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์, ๒๕๕๕; Michener, 2007 ) วงศ์ใหญ่ (Superfamilies) ชื่อสามัญ สโคลิออยเดีย ( Scolioidea ) มด ต่อ และแตนเบียน เวสพอยเดีย ( Vespoidea ) ต่อหัวเสือ ต่อหลุม และต่อแมงมุม สฟีคอยเดีย ( Sphecoidea ) ต่อหมาร่า และแตน เอพอยเดีย ( Apoidea ) ผึ้งต่าง ๆ วงศ์ต่าง ๆ ของผึ้ง (Families) คอลเลทิดี ( Colletidae ) ผึ้งรู สีด� ำ มีสีขาวคาดที่ปล้องท้อง หัวมีแถบสีเหลือง ฮาลิกทิดี ( Halictidae ) ผึ้งรูสีเขียววาว บางชนิดมีสีด� ำ ชอบตอมเหงื่อ และของเค็ม แอนเดรนิดี ( Andrenidae ) ผึ้งรูสีน�้ ำตาล ริมฝีปากสีเหลือง มีขนาดใหญ่ เมกะคิลิดี ( Megachilidae ) ผึ้งกัดใบ มีขนาดใหญ่สีด� ำ ท้องปล้องแรกสีขาว บางครั้งพบตัวเล็ก สีเขียว เมลิทิดี ( Melitidae ) ผึ้งรูตัวสีด� ำขนาดเล็ก บอมบิดี ( Bombidae ) ผึ้งหึ่งขนาดใหญ่ขนปุกปุย เอพิดี ( Apidae ) ชันโรง และผึ้ง ผึ้งหึ่งขนาดใหญ่ขนปุกปุย แมลงภู่ ผึ้งขุดรู สเตโนเทรทิดี ( Stenotretidae ) ผึ้งรู พบในทวีปออสเตรเลียเท่านั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=