สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
129 สิ ริ วั ฒน์ วงษ์ศิ ริ , สิ ทธิ พงษ์ วงศ์วิ ลาศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ผึ้ง ( Apini: Apis ) เป็นแมลงสังคมที่พบการกระจายตัวในแถบเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา มีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากผึ้งที่มีตะกร้าเก็บเกสรกลุ่มอื่น ๆ พบว่านางพญาสามารถผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้ เป็นจ� ำนวนมากในคราวเดียวกัน ( Palmer and Oldroyd, 2000: 235-248 ) เช่น ในผึ้งหลวง A. dorsata พบ ว่านางพญาผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้มากกว่า ๑๐๐ ตัว ( Oldroyd and Wongsiri, 2006 ) และมีการเต้นร� ำเป็น ภาษาเพื่อสื่อสารกันในกลุ่มผึ้งงาน เพื่อบอกแหล่งอาหารและสถานที่สร้างรัง อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการ ของผึ้งมีความส� ำคัญเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมตลอดจนการสร้างรังของผึ้ง รวมไปถึงชีววิทยา และวัฏจักรชีวิต ที่แตกต่างกัน ซึ่งล้วนเกิดจากการควบคุมโดยยีน วิวัฒนาการชาติพันธุ์ของกลุ่มผึ้งที่มีตะกร้าเก็บเกสรยังเป็นที่โต้เถียงกันโดยใช้ลักษณะ ทางชีววิทยาระดับโมเลกุลกับสัณฐานวิทยาและพฤติกรรม ซึ่งพบว่าบรรพบุรุษของผึ้งปรากฏขึ้นเมื่อ ๓๕-๔๕ ล้านปีที่ผ่านมาในอินเดีย-ยุโรป และในสมัยโอลิโกซีนถึงไมโอซีน อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุให้ผึ้ง ในยุโรปสูญพันธุ์ แต่ยังอยู่ได้ในเขตร้อนชื้นแถบเอเชีย บรรพบุรุษผึ้งรังเดียว ปรากฏในช่วง ๑๐ ล้านปีก่อน หลังจากนั้น ๖ ล้านปีต่อมาผึ้งโพรงที่อยู่ในโพรงไม้ โพรงหิน หรือโพรงดิน ที่มีหลายรังซ้อนกันเริ่มปรากฏ ในแถบภูเขาหิมาลัย และได้แพร่กระจายไปทางทิศตะวันออกและทางทิศเหนือ จนกระทั่งพบการแพร่ กระจายทั่วทั้งเอเชีย ( Oldroyd and Wongsiri, 2006 ) ไปสิ้นสุดที่ตะวันออกกลางของทวีปเอเชียโดยตรง นอกจากนี้ยังมีรายงานพบสกุลใหม่คือ Cretotrigona ซึ่งเป็นซากดึกด� ำบรรพ์ผึ้งกลุ่มเดียวกับชันโรง อยู่ ในยุคครีเทเชียส ( Engel, 2000: 1-11 ) รูปที่ ๗ ผึ้งหลวง Apis dorsata (ภาพโดย สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=