สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิ วั ฒนาการ อนุกรมวิ ธาน และการกระจายตั วของผึ้ งในประเทศไทย 128 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 ผึ้งหึ่ง (Bombini) เป็นแมลงสังคมซึ่งพบเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทยคล้ายคลึงกับแมลงภู่ แต่แตกต่างกับแมลงภู่อย่างมีนัยส� ำคัญ แมลงภู่ที่พบทั้งในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทยมี พฤติกรรมเป็นแมลงสังคมขั้นต้นถึงขั้นกลาง โดยที่หลังจากตัวเมียของผึ้งหึ่งได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะท� ำ หน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อนชุดแรกเอง (Alford, 1975) พบการกระจายตัวที่กว้างขวางในแถบอเมริกา เอเชีย ยุโรป และทางตอนเหนือของแอฟริกา (Goulson, 2003) ในประเทศไทยมีมากกว่า ๑๐ ชนิดแต่ยังไม่มี รายงานที่ชัดเจน รูปที่ ๖ ชันโรง (ภาพโดย สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ) ชันโรง ( Meliponini ) เป็นแมลงสังคมชั้นสูงที่คล้ายคลึงกับผึ้ง ( honey bee ) แต่ไม่มีเหล็กใน ภายใน รังมีประชากร ๕๐๐-๑๐๐,๐๐๐ ตัวต่อรัง นางพญามีขนาดใหญ่ที่สุดภายในรัง บางชนิดมีนางพญามากกว่า ๑ ตัว และไม่มีตะกร้าเก็บเกสร อาศัยอยู่ในโพรง พบการกระจายตัวในแถบแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย รวมถึงตอนกลางและตอนใต้ของอเมริกา มีมากกว่า ๕๐๐ ชนิด และพบในประเทศไทยเพียง ๓๕ ชนิด ใน สกุล Trigona ( Oldroyd and Wongsiri, 2006 ) และพบเพิ่มอีก ๑ สกุล คือ Tetragonula ( Rasmussen, 2008 )

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=