สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ วิวัฒนาการของแมลงสังคมมีมานานไม่ต�่ ำกว่า ๓๐๐ ล้านปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลวกจัด เป็นพวกที่มีระบบสังคมแท้ มีบรรพบุรุษที่มีวิวัฒนาการร่วมกับบรรพบุรุษแมลงสาบป่า มีมาก่อนที่ ปรากฏในแมลงสังคมของผึ้ง หลักฐานการค้นพบซากดึกดำ �บรรพ์ของผึ้งในสภาพที่สมบูรณ์ได้ถูกนำ �ไปใช้อธิบายการเกิด วิวัฒนาการของผึ้งเมื่อ ๘๐-๑๒๐ ล้านปีที่ผ่านมา ผึ้งเป็นแมลงสังคมที่ได้แยกสายวิวัฒนาการออกจาก แมลงจำ �พวกอื่นได้อย่างชัดเจน โดยมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการเก็บ เกสรจากพืชมีดอกมาใช้เป็นอาหารสำ �หรับดำ �รงชีวิต ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันแบบพึ่งพาอาศัย ลักษณะ ของผึ้งที่มีตะกร้าเก็บเกสรจึงถูกจำ �แนกออกเป็น ๔ วงศ์ย่อย คือ ผึ้งกล้วยไม้ ( Euglossini ) ผึ้งหึ่ง ( Bombini ) ชันโรง ( Meliponini ) และผึ้ง ( Apini: Apis ) ผึ้งในสกุล Apis จัดได้ว่ามีวิวัฒนาการ สูงกว่าผึ้งสกุลอื่น ๆ และจากการวิเคราะห์ข้อมูลทาง DNA พบทั้งหมด ๙ ชนิดจากทั่วโลก คือ Apis florea, Apis andreniformis, Apis laboriosa, Apis dorsata, Apis cerana, Apis nigrocincta, Apis koschevnikovi, Apis nuluensis และ Apis mellifera และพบการกระจายตัวในประเทศไทย ทั้งหมด ๕ ชนิด คือ ผึ้งหลวง ( Apis dorsata ) ผึ้งพันธุ์ ( Apis mellifera ) ผึ้งโพรงไทย ( Apis cerana ) ผึ้งมิ้ม ( Apis florea ) และ ผึ้งม้าน ( Apis andreniformis ) อย่างไรก็ตาม ผึ้งม้านเป็นผึ้งเพียงชนิด เดียวที่หาพบได้ยากและได้ลดจำ �นวนลงจนได้สูญหายไปจากพื้นที่บางแห่งแล้ว โดยเฉพาะบริเวณภาค กลางของประเทศไทยที่มีสภาพเป็นชุมชนเมือง ค� ำส� ำคัญ : วิวัฒนาการ, แมลงสังคม, ซากดึกด� ำบรรพ์, ผึ้ง วิวัฒนาการ อนุกรมวิธาน และการกระจายตัวของผึ้ง ในประเทศไทย สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=