สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

หลั งคาเปลื อกบางและโครงสร้าง ๓ มิ ติ ชนิ ดอื่ น ๆ 6 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 แบบที่รองรับด้วย ๒ ขา เป็นแบบพื้นฐาน คือมีเพียงกลีบ เดียว (ดูวิธีการสร้างในรูปที่ ๓) ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ท� ำเป็นซุ้มทางเข้าอาคารธรรมดา หรือท� ำเป็นตัวอาคาร ภายในหลังคานั้น ดังรูปที่ ๘ เป็นซุ้มทางเข้าอาคาร โบว์ลิ่งที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เนื่องจากสร้างเป็นรูป ไฮเพอร์โบลิกพาราโบลอยด์แบบมี ๒ ขา ในการออกแบบ จะต้องค� ำนึงถึงความเสถียรให้มาก ต้องระวังให้น�้ ำหนัก ของคอนกรีตทั้ง ๒ ขาของแนวเสามีค่าเท่ากัน มิฉะนั้น อาจเกิดการพลิกคว�่ ำได้ จึงได้ท� ำเสาให้แบนกว้าง และ ฐานรากให้ยาวขนานกับแนวของปลายของหลังคา ไฮเพอร์โบลิกพาราโบลอยด์ขนาดใหญ่แบบ ๒ ขา ในรูปที่ ๙ เป็นหลังคาของโบสถ์ราฟาเอล จังหวัด สมุทรปราการ เนื่องจากเป็นเปลือกบางชิ้นเดียวที่มีขนาด ใหญ่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล จึงได้ออกแบบเผื่อไว้ส� ำหรับผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างวัน ความ ต่างของอุณหภูมิผิวล่างกับผิวบนของหลังคา การระบาย ความร้อนภายในอาคาร ความคงทนต่อไอน�้ ำเค็ม ตลอด จนอันตรายจากฟ้าผ่า เนื่องจากยอดของหลังคายกสูง กว่าระดับเฉลี่ยของอาคารข้างเคียงมาก จากผลกระทบต่าง ๆ ดังกล่าว โดยเฉพาะที่ เกี่ยวกับอุณหภูมิจึงได้ตัดส่วนหลังคาเปลือกบางออก จากเสาเอ็น, เคร่า และครีบกันแดดให้ขาดจากกันโดย สมบูรณ์ (ดูรูปที่ ๑๐) เพื่อให้หลังคาสามารถขยับตัว ได้โดยอิสระ ไม่เกิดการเหนี่ยวรั้ง อันจะท� ำให้เกิดการ แตกร้าวได้ อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องระวังคือ ส่วนที่เป็นปลาย แหลมชี้ขึ้นไปเสี่ยงต่อฟ้าผ่า ซึ่งปรกติจะลงตรงจุดสูงที่ แหลม ฉะนั้นต้องออกแบบให้สามารถป้องกันฟ้าผ่าด้วย อาจใช้วิธีติดตั้งสายล่อฟ้าบริเวณใกล้ ๆ กัน หรือติดไว้ที่ ยอดแหลมของหลังคาเลยก็ได้ ให้สูงกว่ายอดแหลมของ หลังคา หรืออาจเฉือนยอดแหลมนั้นให้เตี้ยและป้านลง รูปที่ ๘ ซุ้มทางเข้าโรงโบว์ลิ่ง รูปที่ ๙ โบสถ์ราฟาเอล ที่สมุทรปราการ รูปที่ ๑๐ ภายในของโบสถ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=