สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

119 ทศพร วงศ์รั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ทวีปวังลังกาสุธาหย่อน เหมือนจะคลอนโคลงคว�่ ำน�้ ำเป็นคลื่น” “มาชมเตร็จเพชรนิลแผ่นดินไหว เพราะจะได้ปรากฏเป็นยศศักดิ์” “ฝ่ายลูกสาวเจ้าลังกาตรึกตราเหตุ ซึ่งอาเพศเพชรนิลแผ่นดินไหว จะร้ายดีมิได้แจ้งยังแคลงใจ จึงตรัสใช้นางร� ำภาอย่าช้าการฯ” “กูจับยามตามต� ำราไตรดายุค ยังเป็นทุกข์ที่ว่าสุธาไหว โศลกว่านารีจะหนีไป เอาหัวใจเมืองออกนอกบุรินทร์” “แล้วทูลท้าวว่าเข้าขุดพอหลุดเลื่อน สุธาสะเทื้อนโคลงเคลงน่าเกรงขาม” ส่วนใน “กาพย์พระไชยสุริยา” ก็มีกล่าวสั้น ๆ แต่ตรงกันไว้ว่า (ยานี ๑๑) “วันนั้นครั้นแผ่นดินไหว เกิดเหตุใหญ่ในปะถะพี เล็งดูรู้คะดี กาลกิณีสี่ประการ ประกอบชอบเป็นผิด กลับจริตผิดโบราณ สามัญอันธพาล ผลาญคนซื่อถือสัตย์ธรรม์” ถ้าถือตามเนื้อหา เช่นที่ก็มีกล่าวอยู่ในนิทานพระอภัยมณี ตอนที่ ๔๕-๕๑ ค� ำกลอนตอนนี้ก็ เป็นการแสดงความส� ำนึกผิดของสุนทรภู่ และเป็นอัปมงคลร้ายแรง ขั้นเสนียดจัญไร ที่เทพยดาฟ้าดินก็ไม่ พอใจและส� ำแดงด้วยแผ่นดินไหว (ทศพร วงศ์รัตน์, ๒๕๕๔ : ๑-๑๔๔) ความรู้เรื่องบาปบุญคุณโทษดังกล่าว สุนทรภู่ก็เคยพูดถึง แต่อาจต่างไป ไว้ในนิทานพระอภัยมณี ตั้งแต่ในตอนที่ ๑๔ หน้า ๒๐๓ เป็นค� ำกลอนเทศนานางจัน ครั้งติดตามมาทวงหนูพัดคืนที่เพชรบุรี ในปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ว่า “แล้วทรงเดชเทศนาภาษาไทย ด้วยความในโลกีย์สี่ประการ คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส ที่คฤหัสถ์หวงแหนไม่แก่นสาร ครั้นระงับดับขันธสันดาน ย่อมสาธารณ์เปื่อยเน่าเสียเปล่าดาย” ด้วยเหตุการณ์ที่ตรงกันได้ในลักษณะนี้ โดยเฉพาะจากค� ำว่า “วันนั้น” ผู้เขียนจึงต้องคิดว่าน่าจะ เป็นเรื่องจริง แม้จะไม่ปรากฏมีอยู่ในบันทึกของพงศาวดาร ยิ่งกว่าที่จะพาดพิงถึงแผ่นดินไหวครั้งที่ผ่านมา ใน ปีชวด พ.ศ. ๒๓๘๓ ตรงกับวันพุธ เดือน ๑๑ แรม ๓ ค�่ ำ เวลาเช้า ๓ โมง ดังมีกล่าวอยู่ใน “พงศาวดาร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=