สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

117 ทศพร วงศ์รั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ ในการเดินทางไปแต่ง “นิราศพระประธม” หลังท� ำศพบิดาและมารดา สุนทรภู่คงจะเชื่อแน่แล้วว่า หลังจากสึกมาครั้งนี้ ขณะอายุได้ ๕๖ ปี ตนคงจะต้องได้รับพระอุปการะจากสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ดังนั้น เมื่อได้มีโอกาสเขียนค� ำกลอน จึงพาดพิงถึงพระองค์ ที่ยังได้ทรงมีพระเมตตา ช่วยกลบเกลื่อน หรือหาที่หลบให้แก่ตน ในกรณีกับกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ที่ทรงมีพระประวัติสมทบทุนส่วน พระองค์ สร้างเป็นวัดเทพธิดารามจนส� ำเร็จ และสุนทรภู่ก็ขอพระกรุณาที่ได้ล่วงเกิน ขออย่าทรง “ แค้นเคือง ” เป็นค� ำกลอนผูกเรื่องแสดงความเกี่ยวข้องกัน ระหว่างเรื่องต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว และต่อไป ว่า “ถึงล่วงแล้วแก้วเกิดกับบุญฤทธิ์ ยังช่วยปิดปกอยู่ไม่รู้สูญ สิ้นแผ่นดินทินกรรอนจ� ำรูญ ให้เพิ่มพูนพอสว่างหนทางเดิน ดังจินดาห้าดวงช่วงทวีป ได้ชูชีพช่วยทุกข์เมื่อฉุกเฉิน เป็นท� ำนุปอุปถัมภ์ไม่ก�้ ำเกิน จงเจริญเรียงวงศ์ทรงสุธาฯ” “อนึ่งน้อมจอมนิกรอัปสรราช บ� ำรุงศาสนาสงฆ์ทรงสิกขา จงไพบูลย์พูนสวัสดิ์วัฒนา ชนมาหมื่นแสนอย่าแค้นเคืองฯ” ไม่ปรากฏมีข้อความเป็นค� ำกลอนที่ชัดเจนในนิทานพระอภัยมณี เกี่ยวกับการเดินทางไปแต่ง “นิราศพระประธม” โดยหลังจากแต่งเป็นเค้าการท� ำศพบิดาและมารดาเมื่อเริ่มตอนที่ ๕๒ แล้ว สุนทรภู่ ก็ไปกล่าวต่อไว้อีก เป็นค� ำกลอนตอนเดียวกันอยู่ใน หน้า ๑๐๗๓ ว่า “แล้วเร่งรัดจัดเกณฑ์ท� ำเมรุใหญ่ สมทบไพร่พวกพหลพลขันธ์ อึกทึกครึกครื้นทุกคืนวัน แต่การนั้นยังไม่เสร็จส� ำเร็จการฯ” ผู้เขียนเข้าใจว่า การที่สุนทรภู่จบตอนนี้ลงอย่างห้วน ๆ ดังกล่าว น่าจะเป็นเพราะหมดเล่มสมุด ไทย แล้วไปแต่งต่อเรื่องท� ำศพบิดาและมารดาจนส� ำเร็จ ในตอนที่ ๕๕ หน้า ๑๑๑๙ เป็นค� ำกลอน ว่า “ด้วยองค์พระชนกชนนี จอมบุรีรัตนานิคาลัย พระเชษฐาพาพระวงศ์ไปปลงศพ ตามโบราณผ่านพิภพสบสมัย” วันเดือนปีแต่ง “นิราศเมืองเพชร” การเดินทางไปแต่ง “นิราศเมืองเพชร” หรือเมืองผลึก และเมืองลังกาตามนิทาน แต่เริ่มด้วย “ลงนาวาหน้าวัดนมัสการ” ซึ่งควรเป็นวัดอรุณหรือวัดแจ้งทันที น่าจะหลังจากได้มาอยู่วังในพระอุปถัมภ์ ของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี โดยในนิทานพระอภัยมณี ที่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=