สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

115 ทศพร วงศ์รั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ “โดยหากว่าถ้าไปปะเรือสลัด ศรีสวัสดิ์แพรวจะพรั่นประหวั่นไหว จะอุ้มวางกลางตักสะพักไว้ โบกธงชัยให้จังงังก� ำบังตา แล้วจะใช้ใบเยื้องไปเมืองเทศ ชมประเภทพวกแขกแปลกภาษา ทั้งหนุ่มสาวเกล้ามวยสวยโสภา แต่งกายาอย่างพราหมณ์งามงามดี ล้วนนุ่งห่มโขมพัสตร์ถือสัจศีล ใส่เพชรนิลแนมประดับสลับสี แลพิลึกตึกตั้งล้วนมั่งมี ชาวบุรีขี่รถบทจรฯ” “แล้วจะชวนนวลละอองตระกองอุ้ม ให้ชมเพลินเนินมะงุมมะงาหรา ไปเกาะที่อิเหนาชาวชวา วงศ์อสัญแดหวาน่าหัวเราะ” “รูปก็งามนามก็เพราะเสนาะนาม จะพาข้ามเข้าละเมาะเกาะมาลากา เดิมของแขกแตกฝาหรั่งไปตั้งตึก แลพิลึกครึกครื้นขายปืนผา เมื่อครั้งนั้นปันหยีอุ้มวียะดา ชี้ชมสัตว์มัจฉาในสาครฯ แม้นเหมือนหมายสายสุดใจไปด้วยพี่ จะช่วยชี้ชมตลิ่งเหล่าสิงขร ประคองเคียงเอียงเอกเขนกนอน ร้องละครอิเหนาเข้ามาลากา แล้วจะใช้ใบบากออกจากฝั่ง ไปชมละเมาะเกาะวังกัลพังหา” น่าสังเกตว่า ค� ำกลอนดังตัวอย่างจาก “ร� ำพันพิลาป” ที่ยกมานี้ แต่งขึ้นจากเค้าของเหตุการณ์ เดียวกัน คือ ระหว่างสุนทรภู่กับกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ที่บริเวณเกาะเกร็ด ดังกล่าวมาแล้ว แต่เป็นใน นิทานพระอภัยมณี ตอนที่ ๔๘-๕๑ หน้า ๙๖๗, ๙๗๖, ๙๘๐, ๙๘๑, ๙๘๒, ๙๙๙, ๑๐๐๒, ๑๐๒๐, ๑๐๓๔ วันเดือนปีแต่ง “นิราศพระประธม” จากนั้นสุนทรภู่ก็เดินทางไปแต่ง “นิราศพระประธม” ในวันจันทร์ขึ้น ๕ ค�่ ำ เดือน ๑๒ ครั้งนี้อีก เช่นกัน ซึ่งตรงกับวันที่ ๗ พฤศจิกายน ปีขาล พ.ศ. ๒๓๘๕ เข้าใจว่าตรงกับเทศกาลงานฉลองประจ� ำปี ใน วันเพ็ญเดือน ๑๒ สุนทรภู่ยังได้กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมที่ละม้ายกับครั้งเดินทางผ่าน จากกรุงเทพฯ ไปเพชรบุรี ในปีฉลูที่ผ่านมา ๑ ปี พอดี ตรงกับในนิทานพระอภัยมณี ตอนที่ ๔๕ หน้า ๙๐๒, ๙๑๐ ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว ส่วนครั้งนี้มีตามล� ำดับ ว่า “ถวิลวันจันทร์ทิวาขึ้นห้าค�่ ำ ลงนาวาคลาเคลื่อนออกเลื่อนล� ำ พอเสียงย�่ ำยามสองกลองประโคม น�้ ำค้างย้อยพรอยพรมเป็นลมว่าว อนาถหนาวนึกเคยได้เชยโฉม” “ทั้งสระมีสี่มุมปทุมชาติ ระดะดาษดอกดวงบัวหลวงสลอน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=