สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วั นเดื อนปีที่ สุนทรภู่แต่งงานค�ำกลอนห้าเรื่ อง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๓๘๕ 114 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 แล้วต่อมาก็เป็นบิดา ในตอนที่ ๕๐ หน้า ๑๐๒๗ ในเค้าว่าเสียชีวิตเพราะไปผ่านศึกมา ซึ่งใน เหตุการณ์จริงตอนนั้น เป็นระยะที่ไทยส่งกองทัพไปรบเมื่อเขมรไปฝักใฝ่ข้างญวน เป็นค� ำกลอน ว่า “โอ้พระองค์ทรงเดชเกศกษัตริย์ มารีบรัดตัดชาติวาสนา เสียแรงลูกผูกยนต์รู้มนตรา ก� ำบังตาล่องหนทั้งทนคง ครั้นศึกมีก็มิให้ลูกไปด้วย ไม่ได้ช่วยสงครามตามประสงค์ จนเสียทีชีวิตพระบิตุรงค์ มาปลดปลงเปล่าใจกระไรเลย โอ้ผ่านเกล้าเจ้าพระคุณทูลกระหม่อม เลี้ยงถนอมลูกมานิจจาเอ๋ย เคยจูบเกล้าเผ้าผมเคยชมเชย มาละเลยลูกไว้ให้ได้อาย” เป็นไปได้ว่า ในการแต่งนิทาน เมื่อเริ่มแทรกเรื่องอิเหนา ไว้สั้น ๆ ในตอนที่ ๔๘ หน้า ๙๗๖ แล้วไป ขยายไว้ในงานที่แต่งก่อนสึกจากพระ คือ “ร� ำพันพิลาป” เป็นค� ำกลอนอย่างหยดย้อย รวมถึง ๑๑๖ ค� ำ จน จบเรื่องก็มาแทรกไว้สั้น ๆ อีก ในนิทานตอนที่ ๕๑ หน้า ๑๐๓๗ หลังจากที่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงเลิก จากการถือศีลภาวนาเป็นชีพราหมณ์ จนมีการใช้ค� ำว่า “สึกชี” จึงขอยกมาแสดงไว้ในที่นี้ ตามล� ำดับ คือ “ฝ่ายพระหน่อวรนาถราชบุตร สินสมุทรตั้งแต่พระแม่สอน ค่อยคิดเห็นเล่นสนุกไม่ทุกข์ร้อน ร้องละครเมื่ออิเหนาเข้ามะละกา พระอุ้มองค์นงลักษณ์ใส่ตักไว้ ชี้ชวนให้ศรีสวัสดิ์ชมมัจฉา หนุ่มน้อยน้อยคอยรับทับร� ำมะนา ค่อยช้าช้าเฉื่อยเสียงส� ำเนียงนวล” “พระฟังค� ำร�่ ำแถลงแจ้งประจักษ์ เหมือนพบพักตร์เสาวคนธ์วิมลโฉม เป็นฤๅษีพี่จะได้ไปเป็นโยม ปลอบประโลมลองวิชาของตาครู แม้สมนึกสึกชีเหมือนอิเหนา ไม่ปลอดเปล่าเปลื้องปลดที่อดสู จะบวชตามทรามวัยลอบไปดู มิให้ผู้อื่นแจ้งจะแพร่งพราย” เรื่องอิเหนาดังกล่าว ผู้เขียนเข้าใจว่าพร้อม ๆ กันนั้น สุนทรภู่เอาไปขยายความเป็นเรื่องชวนสนุก หยอกล้อ โดยอุ้มใส่ตัก เป็นนัยถึงกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ไว้ในบทร� ำพันฝัน ของ “ร� ำพันพิลาป” อย่างยืด ยาวจนจบเรื่อง ค� ำกลอนที่น่าสนใจ คือ “แม้นรับรักหักว่าเมตตาตอบ เมื่อผิดชอบผ่ายหน้าจะพาหนี เหมือนอิเหนาเขาก็รู้ไม่สู้ดี แต่เพียงพี่นี้ก็ได้ด้วยง่ายดาย”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=