สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

113 ทศพร วงศ์รั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ นี่กลับเห็นเป็นดีพาหนีหาย โทษถึงตายหรือไม่เล่าหม่อมเจ้าขา ซึ่งทั้งปวงลวงพระราชอาชญา ให้เรามาตัดศีรษะเสียบประจาน” “พี่เลี้ยงนางต่างว่าข้าพเจ้า มีโทษเท่าดินฟ้าควรอาสัญ ถ้าลงพระอาญาให้ฆ่าฟัน สุดจะผันผ่อนตนให้พ้นตาย ได้ทูลห้ามสามครั้งไม่ฟังห้าม ต้องติดตามทรามสวาทเหมือนมาดหมาย สืบสนองรองบาทไม่คลาดคลาย แม้เจ้านายไปถึงไหนก็ไม่ทิ้ง ด้วยเป็นข้าสาพิภักดิ์ถึงจักม้วย สู้ตายด้วยพระธิดาประสาหญิง ไม่แกล้งว่าสารพัดเป็นสัตย์จริง สุดจะทิ้งเจ้าพระคุณกรุณาฯ พระฟังค� ำท� ำเป็นเคืองช� ำเลืองค้อน ที่โทษกรณ์ก็รู้จักว่าหนักหนา จะหยุดยั้งรั้งพระราชอาชญา ให้คิดหาความชอบปลอบพระน้อง ให้เจ้านายหายดื้อได้หรือไม่ ไปกรุงไกรแล้วก็จะทูลฉลอง ให้พ้นโทษโปรดปราณกินพานทอง จงตรึกตรองเกรงพระราชอาชญาฯ” ส่วนเค้าการสึกจากพระ หลังเสร็จ “ธุระ” และแต่ง “ร� ำพันพิลาป” ในสัปดาห์สุดท้ายก่อน ออกพรรษา ของเดือน ๑๑ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๘๕ ก็มีอยู่ในนิทาน “พระอภัยมณีค� ำกลอน” ตอนที่ ๕๑ หน้า ๑๐๔๔, ๑๐๔๕ ว่า “เสร็จธุระจะได้ไปเสียให้ลับ จะสึกกลับแปลงนามให้ความหาย อยู่ที่นี่มีผู้รู้ระคาย จะได้อายอัประมาณร� ำคาญใจฯ พระยิ้มพรางทางว่าจะลาบวช ฉันมิชวดอยู่หรือกรรมจะท� ำไฉน” น่าสังเกตว่า เมื่อสุนทรภู่แต่งนิทาน “พระอภัยมณีค� ำกลอน” ตอนที่ ๕๒ พระอภัยมณีท� ำศพ ท้าวสุทัศน์ ซึ่งตอนเริ่มนิทาน ตอนที่ ๑ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่มีเค้าของการ สวรรคตไปแล้วตั้งแต่ตอนที่ ๗ หน้า ๑๐๕ ฉะนั้น โดยกาละและเทศะ ตอนนี้ก็น่าจะเป็นระยะที่สุนทรภู่สึก จากพระในช่วงก่อนออกพรรษาพอดี มาท� ำศพมารดาและบิดา โดยที่มารดาได้เสียชีวิตก่อน ตามค� ำกลอน ตอนที่ ๔๖ หน้า ๙๒๖ และใน “ร� ำพันพิลาป” ที่มีข้อความเข้ากันตามล� ำดับ ว่า “ฝ่ายทุกองค์พงศ์กษัตริย์ต่างจัดทัพ ลงเรือกลับข้ามคุ้งไปกรุงศรี ต่างถึงเมืองเรืองส� ำราญผ่านบุรี พอเดือนยี่ยามหนาวคราวเหมันต์” “ถึงเดือนยี่มีเทศน์สมเพชพักตร์ เหมือนลงรักรู้ว่าบุญสิ้นสูญหาย”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=