สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

111 ทศพร วงศ์รั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ “แล้วถามว่าตาครูอยู่ที่นี่ เห็นเภตรามาทางนี้บ้างหรือไฉน เฒ่าชราว่าเขม้นเห็นไรไร เขาแล่นไปแต่เดือนสี่เมื่อปีกลาย ออกน�้ ำเชี่ยวฝ่าคลื่นขึ้นข้างเหนือ ใหญ่กว่าเรือไปมาเที่ยวค้าขาย สังเกตแดนแผนที่บุรีราย จะเข้าฝ่ายฝั่งพาราวาหุโลม” จากชื่อ “วาหุโลม” “โรมวิสัย” หรือ “กบิลพัสดุ์” ที่กล่าวมาแล้ว และ “เวฬุวัน” ที่จะกล่าวต่อ ไป สุนทรภู่คงจะนึกถึงอินเดีย ดินแดนแห่งแม่น�้ ำคงคาของพวกพราหมณ์พวกฮินดู ต้นก� ำเนิดรามเกียรติ์ โดย “วาหุโลม” เป็นชื่อมุขมนตรีวานร อยู่เมืองขีดขิน หนึ่งใน ๙ นายที่เรียก “เตียวเพชร” ต่างจากกลุ่ม “สิบแปดมงกุฎ” ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่กล่าวอยู่ว่า “ปีกขวาวาหุโลมเป็นตัวนาย ปีกซ้ายขุนกบินทร์นิลนนท์” เพื่อท� ำให้เรื่องแปลกออกไปจากความรู้ที่มีอยู่ วันเดือนปีแต่ง “ร� ำพันพิลาป” ส� ำหรับเรื่องราวการเดินทางของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ไปถือศีลกินบวชในร่างของนางเสาวคนธ์ ที่แปลงเป็นฤๅษี หรือพระอัคนี ในตอนที่ ๔๙ ที่กล่าวมาแล้ว สุนทรภู่ได้ผันเรื่องให้เป็นการเดินทางของตัว ละครไปชมพูทวีป และได้กล่าวไว้มากใน ๔-๕ หน้าแรก ในตอนต้นนี้ตามความเข้าใจของตัวสุนทรภู่เอง ที่ได้จากการอ่าน หรือรวมทั้งได้ยินได้ฟัง เรื่องท� ำนองนี้ต่อมาสุนทรภู่ก็เอาไปเลียบเคียง ขยายต่อ เหมือน เป็นนัยแฝงการพาเที่ยว ในความคิดพาหนีไว้อีก ใน “ร� ำพันพิลาป” บทร� ำพึงฝัน เป็นค� ำกลอน เช่น “แล้วจะใช้ใบเยื้องไปเมืองเทศ ชมประเภทพวกแขกแปลกภาษา ทั้งหนุ่มสาวเกล้ามวยสวยโสภา แต่งกายาอย่างพราหมณ์งามงามดี” “จะพาไปให้สร้างทางกุศล ขึ้นสิงหลเห็นจะได้ไปสวรรค์ ไหว้เจดีย์ที่ท� ำเลเวฬุวัน พระรากขวัญอันเป็นยิ่งเขาสิงคุตร์ฯ” น่าสังเกตว่าใน “ร� ำพันพิลาป” ยังมีค� ำกลอนที่ให้ความหมายถึงความส� ำนึกผิดและต้องสึกจาก พระของสุนทรภู่ เข้าใจว่าในสัปดาห์สุดท้ายของการเดินออกจากสุพรรณบุรี ที่ใช้เวลาจริง ๒ วันครึ่งถึง กรุงเทพฯ และได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูล ตามค� ำกลอนในนิทาน ตอนที่ ๕๐ หน้า ๑๐๒๗ ก่อนออกพรรษา ที่วัดเทพธิดาราม ค� ำกลอนเหล่านี้มีตามล� ำดับ คือ “ซึ่งสั่งให้ไปสวรรค์หรือชันษา จะมรณาในปีนี้เป็นปีขาล” “โอ้ปีนี้ปีขาลบันดาลฝัน ที่หมายมั่นเหมือนจะหมางระคางเขิน”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=