สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วั นเดื อนปีที่ สุนทรภู่แต่งงานค�ำกลอนห้าเรื่ อง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๓๘๕ 110 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 2 April-June 2014 จากทิศทาง เป็นที่แน่ว่าต้องเป็นการออกจากกรุงเทพฯ ไปสุพรรณบุรี และได้แต่ง “โคลงนิราศ สุพรรณ” ไปพร้อมกัน เพราะสุนทรภู่ยังได้กล่าวไว้ในนิทาน “พระอภัยมณีค� ำกลอน” ตอนที่ ๔๘ หน้า ๙๖๗, ๙๗๒, ๙๗๓ ตามล� ำดับ อีกว่า “ให้ใช้ใบในทางทิศพายัพ ออกลึกลับล� ำเดียวเปลี่ยวหนักหนา” “จึงทูลความตามดิถีต้องตรียางค์ ว่าไปทางทิศพายัพจะลับนาน” “หมายพายัพขับใหญ่วิ่งไวว่อง ระเริงร้องเร็วรีบโถมถีบถอน” แม้การเดินทางไปสุพรรณบุรีของสุนทรภู่จะเป็นการไปเพื่อหลบให้ปัญหาคลี่คลาย แต่ในความ เป็นจริง ก็คงจะมีการส่งข่าวถึงกรุงเทพฯ กันอยู่ตลอดเวลา จากฝ่ายนายด่าน ตลอดเส้นทางที่สุนทรภู่ผ่าน ดังที่สุนทรภู่เองได้แต่งเป็นนิทานไว้ เช่น ในตอนที่ ๔๙, ๕๐ หน้า ๙๙๑, ๙๙๒, ๙๙๓, ๑๐๐๑, ๑๐๑๓ ตาม ล� ำดับ ว่า “จะบอกกล่าวราวเรื่องไปเมืองหลวง ตามกระทรวงทูลเหตุแจ้งเขตขัณฑ์ ขอเบิกด่านท่านให้เสร็จทั้งเจ็ดชั้น ได้ผายผันไปตามความสบาย” “ต่างบอกข่าวราวเรื่องไปเมืองหลวง ด่านทั้งปวงเกณฑ์ตรวจทุกหมวดหมาย จะยกไปหลายทัพจับโจรร้าย พอพวกนายด่านถือหนังสือมา ผิดส� ำเหนียกเรียกเอาส� ำเนาอ่าน ขอเบิกด่านว่าฤๅษีดีหนักหนา เนื้อความกลับทัพยั้งหยุดรั้งรา รีบส่งม้าใช้ถือหนังสือไป” “ฝ่ายเสนามานั่งสั่งเสมียน ให้เร่งเขียนข้อรับสั่งสิ้นทั้งหลาย ฝ่ายม้าใช้ได้ตรากราบลานาย ขึ้นม้ารายไปทุกเมืองแจ้งเรื่องความฯ” “ท้าวเคืองขัดตรัสว่าแม้ฆ่าเสีย พวกลูกเมียมันจะอพยพหนี จะปล่อยไปให้มันสู้จะดูดี แล้วให้มีธงหนังสือให้ถือไป” “จึงรอรั้งตั้งค่ายอยู่ชายทุ่ง พอย�่ ำรุ่งเรียกเสมียนเขียนอักษร ให้บ่าวไปในเมืองแจ้งเรื่องร้อน เจ้านครรับอ่านดูสารพลันฯ” ในนิทานที่ยังต้องแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ คือ “พระอภัยมณีค� ำกลอน” สุนทรภู่ยัง อธิบายเรื่องเกี่ยวกับเวลาระหว่างเดินทาง “ขึ้นข้างเหนือ” ขณะอยู่ในสุพรรณบุรี เป็นเวลา ๘-๙ เดือน โดย เหมือนจะมีการก� ำหนดเส้นทางตามแผนที่ กล่าวคือ เมื่อข้ามเวลาจากปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ มาเป็นปีใหม่ คือ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๘๕ ก็ได้แต่งเป็นค� ำพูดของตัวละครโต้ตอบกัน ถึงเดือนสี่ถัดจากเดือนสามในปีเดียวกันของ การเริ่มออกเดินทางเมื่อปีกลายมาได้ ๑ เดือน ไว้ ในตอนที่ ๕๑ หน้า ๑๐๓๖ ว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=