สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
107 ทศพร วงศ์รั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ เรื่องราวของพระประธมในสมัยนั้นถูกรื้อฟื้นขึ้นหลังจากรกร้างมานาน โดยภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้ เสด็จไปนมัสการในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๗๕ จึงเป็นไปได้ที่สุนทรภู่ใช้โอกาสเจริญตามรอยพระบาท และอีก ๑๐ ปีต่อมาได้เดินทางพร้อมหนูตาบ และหนูนิลไปแต่ง “นิราศพระประธม” ด้วยบริบทของกาลเทศะ ผู้เขียนเชื่อว่า ระหว่างอยู่ที่เพชรบุรีราว ๒ เดือน สุนทรภู่ได้แต่ง “กาพย์ พระไชยสุริยา” และนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน เป็นตอนที่ ๔๕ เป็นตอนแรกที่เริ่มถวายกรมหมื่นอัปสร สุดาเทพ ตามที่พระองค์มีพระประสงค์ โดยน่าจะต้องมีการดัดแปลงท้าย ตอนที่ ๔๔ ที่แต่งแล้วว่างเว้นมา นานเหมือนจบนิทานให้กลมกลืนกับเรื่องใหม่ในตอนที่ ๔๕ วันเดือนปีแต่ง “โคลงนิราศสุพรรณ” จนกระทั่งถึงเดือนยี่ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ สุนทรภู่ได้ข่าวมารดาเสียชีวิต และมีผู้เอาเรือมารับจาก เพชรบุรีกลับกรุงเทพฯ ตามค� ำกลอน ตอนที่ ๔๖ พระอภัยมณีกลับเมือง หน้า ๙๒๖ ว่า “ฝ่ายทุกองค์พงศ์กษัตริย์ต่างจัดทัพ ลงเรือกลับข้ามคุ้งไปกรุงศรี ต่างถึงเมืองเรืองส� ำราญผ่านบุรี พอเดือนยี่ยามหนาวคราวเหมันต์ฯ” เรื่องนี้ ยังมีกล่าวอยู่ใน “ร� ำพันพิลาป” เป็นค� ำกลอนใกล้ท้ายบทระลึกความหลัง ด้วยยังส� ำนึก ในความผิด และเค้าการเดินทางไปสุพรรณบุรี ใน “ปลายปีฉลู” พ.ศ. ๒๓๘๔ ว่า “ถึงเดือนยี่มีเทศน์สมเพชพักตร์ เหมือนลงรักรู้ว่าบุญสิ้นสูญหาย สู้ซ่อนหน้าฝ่าฝืนสะอื้นอาย จนถึงปลายปีฉลูมีธุระ ไปทางเรือเหลือสลดด้วยปลดเปลื้อง ระคางเคืองข้องขัดสลัดสละ” จากค� ำว่า “ปลายปีฉลูมีธุระ” และ “ทางเรือเหลือสลด” จึงสอดคล้องกับการเดินทาง ที่มี ผู้ก� ำหนดเช่นเดียวกับตอนไปเพชรบุรี โดยทางบก ในระหว่างเดือน ๑๒ ถึงเดือนยี่ ดังกล่าวมาแล้ว โดย ครั้งนี้เป็นการไปในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่เดือน ๓ ราววันเพ็ญ ดังค� ำกลอน ตอนที่ ๔๗, ๔๘ หน้า ๙๓๕, ๙๗๖ ว่า “พอออกจากปากน�้ ำก็ค�่ ำพลบ จุดเพลิงคบโคมรายขึ้นปลายเสา เป็นเดือนสามยามหนาวลมข้าวเบา พัดเพลาเพลาพอได้ใช้ใบสบาย ล� ำที่นั่งดั้งกันเป็นหลั่นแล่น ไปตามแผนที่ทะเลคะเนหา ล้วนเคยคลื่นชื่นใจทั้งไพร่นาย นั่งสบายบังลมแลชมดาว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=