สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

101 ทศพร วงศ์รั ตน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๗ “วิบากกรรมจ� ำเป็นไม่เว้นว่าง ให้อ้างว้างวิญญาณ์เพียงอาสัญ ระทวยองค์ลงบนที่บุตรีนั้น สะอื้นอั้นอ่อนซบสลบไปฯ” “สามกษัตริย์อัศจรรย์ก็หวั่นหวาด เห็นหน่อนาถนิ่งไปก็ใจหาย ช่วยแก้ไขพอค่อยทรงด� ำรงกาย แกล้งอุบายบ่นว่าเคยมาพบ ผู้ที่นั่งทางปราสาทประหลาดนัก หมายว่ารักเสาวคนธ์จนสลบ” “ทั้งข่วนผลักสักเท่าไรก็ไม่เจ็บ จนเสียเล็บหักหมดก� ำสรดกันแสง พระสวมสอดกอดกระหวัดนางวัดแวง จนสิ้นแรงอ่อนพับนิ่งหลับตา” เหล่านี้ ในความคิดของผู้เขียนขณะนี้ สุนทรภู่ต้องหมายถึงเหตุการณ์วันที่เกิดปัญหาระหว่าง ตนกับกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ที่ “จึงจดวันเวลาด้วยอาวรณ์” คือเป็นวันจันทร์ เดือน ๘ กรกฎาคม ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๘๔ มากกว่าที่จะตีความว่าเป็นวันแต่ง “ร� ำพันพิลาป” อย่างที่คิดกัน โดยที่ตามประวัติ สุนทรภู่ ได้สึกจากพระตั้งแต่ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๗๘ เพื่อให้ได้ใกล้ชิดกับนางม่วง ตามที่นางขอร้อง แล้วบวชใหม่ใน ต้นปีกุน พ.ศ. ๒๓๘๒ ด้วยนิมนต์ของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ จึงได้มาจ� ำพรรษาที่วัดเทพธิดาราม ตั้งแต่ วัดสร้างเสร็จในเดือนธันวาคม ปีกุน พ.ศ. ๒๓๘๒ วันเกิดเหตุ โดยนัยของเนื้อหารวมถึงกาละและเทศะ จึง น่าจะเป็นช่วงที่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพถือบวชเป็นชีพราหมณ์ คือไม่เป็นทั้งชีหรือพราหมณ์ หรือไม่โกนผม แต่ห่มขาว ถือศีล พักอยู่ตามวัด ทั้งนี้โดยได้รับพระราชานุญาตให้ไปในทิศพายัพ เข้าใจว่าน่าจะเป็นการ ผ่านไปในเขตนนทบุรี ทั้งนี้เพราะมีการพาดพิงถึงเกาะโดยตรง จึงน่าจะหมายถึงเกาะเกร็ด ที่ตามประวัติ เปลี่ยนสภาพเป็นเกาะมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าท้ายสระ เมื่อทรงให้มีการขุดคลองเกร็ดน้อย หรือเตร็จน้อย ใน ปีขาล พ.ศ. ๒๒๖๕ ยาวประมาณ ๒๙ เส้น เป็นทางลัด เรียกว่า คลองลัดเกร็ด (เดิมเรียกคลองเตร็จน้อย ที่ บ้านปากเตร็จ) ให้แม่น�้ ำอ้อมเกร็ดหรือแม่น�้ ำเจ้าพระยาบริเวณนี้เปลี่ยนทิศทาง ไหลตรงลงใต้แทนการไหล โค้งไปทางทิศตะวันตก บริเวณนี้จึงเกิดชุมชนใหญ่ขึ้น เป็นจุดผ่านและจอดเรือสินค้าตรงบริเวณที่เป็นอ่าว ท� ำให้ต้องตั้งด่านปากเกร็ด เดิมเรียกปากเตร็จ เพื่อตรวจสินค้าขึ้นเก็บภาษี ที่บริเวณฝั่งตะวันออกของตัว เกาะในปัจจุบัน ซึ่งมีวัดปากอ่าว หรือต่อมาคือ วัดปรมัยยิกาวาส แต่ก่อนที่ผู้เขียนจะกล่าวต่อไปถึงการเดินทางของนางเสาวคนธ์ในภาพของกรมหมื่นอัปสรสุดา เทพไปแสวงบุญที่บริเวณเกาะเกร็ดจนเกิดปัญหากับสุนทรภู่ ซึ่งเป็นการเล่าย้อนเหตุการณ์ของสุนทรภู่เป็น นิทานพระอภัยมณีตอนที่ ๔๘ ผู้เขียนก็ใคร่จะยกค� ำกลอนในตอนที่ ๔๗ ซึ่งสุนทรภู่เล่าถึง การกราบบังคม ทูลขอพระกรุณาอภัยโทษ ซึ่งมีอยู่ในหน้า ๙๕๘-๙๕๙ ว่า “แล้วนางแกล้งแต่งธูปเทียนดอกไม้ มาตั้งไว้ขอสมาวันทาถวาย จะเคียงคู่อยู่ไปก็ได้อาย ขอสู้ตายเสียให้พ้นคนนินทา ได้ผิดพลั้งครั้งใดอภัยโทษ อย่าถือโกรธเลยเป็นขาดวาสนา”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=